ชนิดของโพรบ (Probe)

ชนิดของโพรบ (Probe)

ชนิดของโพรบที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม
1.หัววัดแบบ (Contact Probes & Receptacle)
2.โพรบแบบหัววัด2ด้าน (Double Tipped probe)
3.โพรบแบบหมุน (Turn probe)
4.โพรบแบบรวม (Integrated probe)

     โพลบ (Probe) ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมือ เครื่องจักรมากมาย แต่ละอุตสาหกรรมก็มีอุปกรณ์เครื่องที่เฉาพะไม่อีก วันนี้เราจะนำเสนอ โพรบ (Probe) ว่าคืออะไรและมีกี่ชนิด

     โพลบ (Probe) คือหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า ที่มีบทบาทสำคัญในการใช้งานด้านวิศวกรรมต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อใช้การวัดค่าทางไฟฟ้า มักถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ 

ชนิดของโพรบที่นิยม ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม
1.หัววัดแบบ (Contact Probes & Receptacle)
     โพรบชนิดนี้สามารถแยก หัววัดและปลอก ออกจากกันได้ทำให้สามารถเปลี่ยนหัววัดได้อย่างง่ายดายเมื่อมีการสึกหรอ เพื่อคงประสิทธิภาพในการวัดเอาไว้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการวัดเยอะๆ เช่นงานทดสอบแผงวงจร PCB, สารกึ่งตัวนำ และ หัวคอนเนคเตอร์
 
2.โพรบแบบหัววัด2ด้าน (Double Tipped probe)
     โพรบชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นหัววัดทั้งสองฝั่ง และมีโครงสร้างสปริงอยู่ภายใน ใช้ในการเชื่อมต่อชั่วคราวของ 2 วงจร เช่น ใช้ตรวจสอบ IC ก่อนที่จะติดตั้งจริงบนบอร์ดวงจร (PCB) และเนื่องจากขนาดที่เล็ก และไม่ต้องเชื่อมต่อสายไฟ จึงสามารถใช้วัดค่าในบริเวณแคบๆได้
 
3.โพรบแบบหมุน (Turn probe)
      โพรบชนิดนี้ จะมีโครงสร้างคล้ายแบบ Contact Probes & Receptacle ที่จะแยกส่วน Contact Probes และ Receptacle ออกจากกัน แต่ส่วนปลายหัววัดชนิดนี้จะหมุนไปด้วย ในขณะที่หัววัดยืดหดเข้าออก เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่หน้าสัมผัส เช่น คราบฟลักซ์ (Flux) และ ออกไซด์ฟิล์ม มักถูกใช้ในการตรวจสอบการลัดวงจร
 
4.โพรบแบบรวม (Integrated probe)
       โพรบชนิดนี้จะรวม หัววัด, สปริง, ปลอกโพรบ และ ตัวรับโพรบ ไว้ด้วยกัน จึงทำให้ได้ค่าการนำไฟฟ้าที่เสถียร โดยไม่ขึ้นกับระยะสโตรกที่หัววัดหดลงไป
 
          >>>  จะเห็นได้ว่า โพรบ (Probe) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานด้านวิศวกรรม ทำให้มีการเชื่อการวัดทางไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความต้องการไฟฟ้า ลักษณะพื้นผิวของชิ้นงาน แรงสัมผัส และความทนทานเมื่อทำการเลือก เมื่อเลือกโพรบแบบสัมผัสที่เหมาะสม คุณจะมั่นใจได้ถึงการวัดที่แม่นยำและประสิทธิภาพสูงสุดในงานด้านวิศวกรรมของคุณ  <<<
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 7,873