Part Feeders
Part Feeders
Part Feeders คือ “เครื่องป้อนชิ้นส่วนอัตโนมัติ”
Part feeder นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญ ในกระบวนการประกอบของระบบอัตโนมัติ โดย Part feeder จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ในสายการผลิตจะไหลได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังช่วยจัดเรียงให้ชิ้นส่วนให้อยู่ในตำแหน่งและทิศทางที่เหมาะสมต่อกระบวนการประกอบในขั้นตอนถัดไป จึงเพิ่มประสิทธิภาพและลดความยุ่งยากในกระบวนการประกอบได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถลดต้นทุนและลดความซับซ้อนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้มากขึ้นอีกด้วย
Part feeder สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้
ส่วนภาชนะสำหรับป้อนชิ้นงาน: โดยทั่วไปแล้วตัวป้อนชิ้นส่วนจะมีภาชนะสำหรับเก็บส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งในกรณีของโถ (Bowl) หรือถัง (Hopper)นี้ใช้เพื่อจัดเก็บและจัดส่งชิ้นส่วน โดย Bowl จะมีโครงสร้างคล้ายชาม ในขณะที่ Hopper จะมีลักษณะคล้ายถังเก็บของ ในขณะที่ตัวป้อนแบบอินไลน์ ก็อาจใช้รูปแบบภาชนะที่ต่างออกไป
1. กลไกการเคลื่อนที่: ในเครื่องลำเลียงชิ้นส่วนแบบโถ (Bowl feeder) มักจะใช้กลไกสร้างแรงสั่นสะเทือน เพื่อทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ โดยกลไกการสั่นสะเทือนจะสร้างการสั่นสะเทือนขึ้นในโถ ทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ไปตามรางที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ส่วนแบบ Hopper ชิ้นส่วนจะถูกทำให้เคลื่อนที่โดยแรงโน้มถ่วง ในขณะที่ตัวป้อนแบบอินไลน์มักจะใช้สายพานลำเลียงหรือรางเชิงเส้นเพื่อเคลื่อนชิ้นส่วนไปข้างหน้า
2. ส่วนจัดตำแหน่งและทิศทาง: เครื่องป้อนชิ้นงานแบบโถ Bowl feeder มักจะมีชิ้นส่วนพิเศษ เช่น ทางลาด ราง และประตู เพื่อจัดท่าทางของชิ้นส่วนให้อยู่ในในทิศทางที่ต้องการ ตัวป้อนแบบอินไลน์ (Inline feeder) ใช้รางแบบเชิงเส้นเพื่อรักษาตำแหน่งชิ้นส่วนให้เป็นแถวเดียว และฮอปเปอร์อาจมีรางหรือช่องสำหรับลำเลียงชิ้นส่วนไปยังจุดป้อนชิ้นงาน
3. Part Feeder สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ในหลายวิธี ดังนี้
(1.) ลดเวลาที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงานรอชิ้นงาน: Part Feeder ช่วยให้การป้อนชิ้นงานเข้าไปสู่เครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งช่วยลดเวลาที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงานรอชิ้นงาน ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น
(2.) เพิ่มความแม่นยำในการป้อนชิ้นงาน: Part Feeder สามารถป้อนชิ้นงานเข้าไปสู่เครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ และปรับทิศทางให้เหมาะกับกระบวนการถัดไป จึงช่วยให้กระบวนการถัดไปทำงานได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดข้อผิดพลาดในการผลิตลงได้