ฮีตเตอร์(Heater) ในอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง
ฮีตเตอร์(Heater) ในอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง
ฮีตเตอร์ในอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง
1.ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater)
2.ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)
3.ฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)
4.ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater)
5.ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater)
6.ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Quartz Heater)
7.ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater)
8.ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)
ฮีตเตอร์ คือเครื่องทำความร้อน การเอากระแสไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ฮีตเตอร์พบได้ในทุกอุตสาหกรรม และในครัวเรือน โดยฮีตเตอร์มีหลากหลายรูปแบบ วันนี้ FactoriPro จะมาอธิบายลักษณะของแต่ละประเภทของฮีตเตอร์ เพื่อให้ทุกท่านได้เลือกใช้งานได้ตรงตามประเภท มีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1. ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater)
เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้ให้ความร้อนได้ทั้งกับอากาศและของเหลว มีลักษณะเป็นท่อกลมแท่งเดียวมีปลาย 2 ด้าน สำหรับต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า สามารถดัดได้หลายรูปทรงตามความต้องการใช้งานเช่น เส้นตรง ตัวยู วงกลม ตัวเอ็ม
2. ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)
คือ การนำฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) มาใส่ครีบหรือแผ่นโลหะแผ่นบางๆจำนวนมากติดอยู่บนผนังด้านนอกของตัวท่อเพื่อใช้ในการเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนความร้อนได้รวดเร็วและได้ประสิทธิภาพสูงจึงใช้กำลังวัตต์ได้สูงกว่าฮีตตอร์ท่อกลม ฮีตเตอร์ครีบมีรูปทรงที่นิยมใช้ เช่น แบบตรง ตัวยู และตัวเอ็ม
3. ฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)
คือ การนำฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) หลายๆตัวมารวมกันในหัวฮีตเตอร์เดียวซึ่งมีทั้งแบบเกลียวและแบบหน้าแปลนตามลักษณะการติดตั้ง สามารถทำได้ทั้งแบบตรง ตัวแอล หรือตัวแซด ใช้ในงานต้มหรืออุ่นของเหลวให้เกิดความร้อน โดยไม่ควรให้ระดับของเหลวอยู่ต่ำกว่าตัวฮีตเตอร์หรือช่วงทำความร้อน (Heat Zone) เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
4. ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater)
เป็นฮีตเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแท่งกลมแท่งเดียวปลายฝั่งหนึ่งจะมีสายไฟออก 2 หรือ 3 เส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีตั้งแต่ 6-28 มิลลิเมตร นิยมใช้ฮีตเตอร์แท่งเสียบเข้าไปในรูของโลหะเพื่อให้โลหะเกิดความร้อนขึ้น
5.ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater)
เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้ในการจุ่มเพื่อให้ความร้อนแก่ของเหลว จุดเด่นของฮีตเตอร์บอบบิ้นคือเมื่อลวดฮีตเตอร์ด้านในขาดหรือเสียหาย สามารถถอดปลอกโลหะที่หุ้มออกแล้วนำไปพันลวดใหม่ได้ต่างจากฮีตเตอร์ประเภทอื่นที่เมื่อเสียหายแล้วซ่อมแซมไม่ได้ นอกจากนี้ปลอกฮีตเตอร์ยังมีชนิดที่ทำจากหลอดแก้วทำให้ใช้กับสารเคมีที่มีความกัดกร่อนสูงได้เกือบทุกชนิด แต่ห้ามเกิดการกระแทกเพราะจะแตกเสียหาย บางครั้งเรียกว่า ฮีตเตอร์หลอดแก้ว (Quartz Heater)
6. ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Quartz Heater)
เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้การแผ่รังสีความร้อนไปยังชิ้นงานโดยมีความยาวคลื่นอยู่ในย่านอินฟราเรด การแผ่รังสีความร้อนจะให้ความร้อนได้ถึงเนื้อในของชิ้นงานจึงประหยัดเวลาในการทำงานได้ถึง 1-10 เท่า และยังประหยัดไฟ
30-50%เลยทีเดียว
ฮีตเตอร์อินฟราเรดมี 2 แบบคือ
(6.1) ฮีตเตอร์อินฟราเรดแบบหลอด (Infrared Quartz Heater) ลักษณะเป็นแท่งตรงปลอกด้านนอกมีทั้งหลอดสีดำและหลอดสีขาวขุ่นหรือเรียกว่าหลอดควอทซ์ มักจะใช้งานร่วมกับโคมสะท้อน
(6.2) ฮีตเตอร์อินฟราเรดแบบแผ่นเซรามิค (Ceramic Infrared Heater) มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม วงกลม หรืออาจมีรูปร่างแบบแผ่นโค้ง เป็นต้น ข้อได้เปรียบของฮีตเตอร์ประเภทนี้คือไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรงและยังง่ายต่อการถอดเปลี่ยนเพื่อซ่อมบำรุง
7. ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater)
เกิดจากการนำฮีตเตอร์ที่มีท่อกลมไปม้วนให้มีรูปร่างเหมือนขดสปริง มีสายไฟออกด้านเดียวคล้ายกับฮีตเตอร์แท่ง แต่ในการม้วนจะออกแบบให้ท่อฮีตเตอร์ช่วงที่เป็นขดสปริงมีลักษณะเป็นท่อเหลี่ยมเพื่อให้ง่ายต่อการสวมใช้งานและเพื่อเพิ่มพื้นผิวในการส่งผ่านความร้อนได้มากขึ้นอีกด้วย
8. ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)