การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรม (Engineering Plastic)
การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรม (Engineering Plastic)
5 พลาสติกวิศวกรรมที่นิยมใช้
1.พลาสติกโพลีโพรพิลีน(Polypropylene : PP)
2.พลาสติกโพลีเอทิลีน(Polyethylene : PE)
3.พลาสติกโพลีคาร์บอเนต(Polycarbonate : PC)
4.พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน (Polyoxymethylene : POM)
5.พลาสติกเบกาไลท์หรือเบคิไลต์ (Bakelite)
Engineering Plastics หรือพลาสติกวิศวกรรม
เป็นกลุ่มของพลาสติกที่ผ่านกรรมวิธีการปรับแต่งโครงสร้างจนได้คุณสมบัติของพลาสติกที่เหมาะสมกับการนำมาใช้งานเชิงวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรง ความเหนียว การทนต่อการกัดกร่อน การทนต่อการติดไฟ การทนความร้อน การทนแรงกระแทกสูง เพื่อใช้ในงานเฉพาะทาง เช่น ทดแทนวัสดุโลหะ เช่น เฟืองในชิ้นส่วนรถยนต์ หรือใช้ในชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
การเลือกใช้พลาสติกวิศวกรรม (Engineering Plastic)
1.พลาสติกโพลีโพรพิลีน(Polypropylene : PP)
พลาสติก โพลีโพรพิลีน (Polypropylene : PP) มีคุณสมบัติ คือ ทนต่อสารเคมีและน้ำมันได้ดี มีความแข็งและเหนียว ทนแรงกระแทก ทนอุณหภูมิได้มากกว่า 100 ℃ มีน้ำหนักเบาสามารถลอยน้ำได้และเป็นวัสดุ Food Grade
พลาสติกโพลีโพรพิลีน ใช้งานอย่างไร
พลาสติกโพลีโพรพิลีน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร อุตสาหกรรมไลน์ชุบหรือไลน์เคมี ซึ่งนำแผ่นพีพีไปใช้ทำถังบรรจุสารเคมีหรืออุปกรณ์ในระบบท่อสำหรับลำเลียงสารเคมี เป็นต้น

2.พลาสติกโพลีเอทิลีน(Polyethylene : PE)
พลาสติกโพลีเอทิลีน(Polyethylene : PE) สามารถแยกย่อยได้ 3 ชนิด คือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ชนิดความหนาแน่ปานกลาง(MDPE) และชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) พลาสติกชนิดนี้ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 100 ℃ แต่ทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง – 73 ℃ มีความแข็งแรงและเหนียว ทนสารเคมีได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมัน สามารถลอยน้ำได้ เนื้อสัมผัสลื่นมัน
พลาสติกโพลีโพรพิลีน ใช้งานอย่างไร ?
พลาสติกโพลีโพรพิลีน สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ตัวอย่างเช่น ขวดบรรจุน้ำหรือสารเคมี ท่อน้ำ ท่อไฟฟ้า ใช้ในงานเคลือบผิว ชิ้นส่วนเครื่องจักร เป็นต้น

3.พลาสติกโพลีคาร์บอเนต(Polycarbonate : PC)
พลาสติกโพลีคาร์บอเนต(Polycarbonate : PC) มีคุณสมบัติเด่น คือ พลาสติกที่มีความโปร่งแสง มีความเหนียว และแข็งแรงกว่ากระจกประมาณ 250 เท่า มากกว่าอะคริลิค 20 เท่า ทนอุณหภูมิได้ -20 ถึง 140 ℃ ดัดโค้งงอได้ ทนความเป็นกรดได้ดี แต่ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นด่าง สามารถพบเห็นทั่วไป มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นตันและแบบแผ่นลอนลูกฟูก
พลาสติกโพลีคาร์บอเนต ใช้งานอย่างไร ?
พลาสติกโพลีคาร์บอเนต สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น ใช้ทำหลังคา การ์ดนิรภัยของเครื่องจักร กระจกกันกระสุนของรถยนต์ นอกจากนี้ยังพบในงานทำเลนส์กล้อง บรรจุภัณฑ์อาหาร เครื่องมือทางการแพทย์ และอื่นๆ

4.พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน (Polyoxymethylene : POM)
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน (Polyoxymethylene : POM) หรือ โพลีอะซิทัล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ โพลีฟอมัลดิไฮด์ มีลักษณะทึบแสง ผิวลื่นมัน ยืดหยุ่นได้ดีในอุณหภูมิสูงและต่ำ ทนเคมีได้ดี ทนการเสียดสี และทนต่อแรงดึงได้ดี อุณหภูมิใช้งาน -50 ถึง 100 ℃
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน ใช้งานอย่างไร ?
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน เหมาะสำหรับใช้ผลิดตชิ้นส่วนเครื่องจักรเพื่อทดแทนโลหะ เช่น เฟือง บูช ล้อเลื่อน โซ่ แบริ่ง เป็นต้น

5.พลาสติกเบกาไลท์หรือเบคิไลต์ (Bakelite)
พลาสติกเบกาไลท์หรือเบคิไลต์ (Bakelite) เป็นชื่อทางการค้าของ ฟีนอลฟอมัลดิไฮด์เรซิน มีความเป็นฉนวนทางไฟฟ้าที่ดีมาก ทนอุณหภูมิได้ประมาณ 80-150 ℃ ขึ้นอยู่กับชนิดของเบคิไลท์ มีความแข็งแต่ไม่เหนียว ทนต่อสารเคมีได้ดี
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน ใช้งานอย่างไร ?
พลาสติกโพลิออกซิเมทิลีน นิยมนำไปใช้ในงานอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมไปถึงใช้ในการออกแบบ เฟือง เพลา บูช และอื่นๆ

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO