สีของถังดับเพลิงแตกต่างกันอย่างไร?
ถังดับเพลิงโดยทั่วไปมีสีอะไรบ้าง แต่ละสีเป็นถังชนิดไหน
ถังดับเพลิงมีกี่สี มีกี่ชนิด ? โดยทั่วไปแล้วถังดับเพลิงมักมีหลายสี ซึ่งสีของถังดับเพลิงส่วนใหญ่เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์บอกว่าเป็นถังดับเพลิงประเภทใด อุปกรณ์ดับเพลิงในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สี ได้แก่ ถังดับเพลิงสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีเงิน และสีเหลือง โดยแต่ละสีมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ถังดับเพลิงสีแดง
ถังดับเพลิงสีแดง เป็นถังดับเพลิงที่ได้รับความนิยม และสามารถพบได้ทั่วไปตามอาคาร บ้านพัก และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ถังดับเพลิงสีแดง คือ ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) และ ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งถังดับเพลิงทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิง และสถานที่ใช้งานแตกต่างกัน
ถังดับเพลิงชนิดผงเคมี : เหมาะสำหรับติดตั้งทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
ถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ : เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน บ้านพัก โรงงาน และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ถังดับเพลิงสีเขียว
ถังดับเพลิงสีเขียว คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคาร ห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อฉีดออกมาสารเคมีจะระเหยไปในอากาศจะไม่ทิ้งคราบตกค้าง ช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาด และที่สำคัญถังดับเพลิงสีเขียวไม่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้งาน
- ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือสีฟ้า
ถังดับเพลิงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน คือ ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือ ถังดับเพลิงชนิดละอองน้ำแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับติดตั้งภายในบ้านพัก อาคารสำนักงาน ทั้งนี้นอกจากถังดับเพลิงสูตรน้ำแล้ว บางยี่ห้อถังดับเพลิงสีฟ้าอาจจะคือถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหยที่มีส่วนประกอบของ HCFC-123 ด้วย
- ถังดับเพลิงสีเงินหรือสีขาว
ถังดับเพลิงสีเงิน คือ ถังดับเพลิงชนิดโฟม โดยตัวถังจะเป็นสแตนเลส เนื่องจากภายในถังบรรจุน้ำที่เป็นส่วนประกอบหลัก AR-AFFF เหมาะสำหรับติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะโฟมเป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า
ถังดับเพลิงสีขาว คือ ถังดับเพลิงที่บรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate เหมาะสำหรับติดตั้งในร้านอาหาร โรงอาหาร ห้องครัว เป็นต้น
- ถังดับเพลิงสีเหลือง
ถังดับเพลิงสีเหลือง คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ที่มีส่วนผสมของสารฮาโลตรอน (Halotron) ที่มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่มีข้อเสียเนื่องจากสารฮาโลตรอนเป็นสาร CFC ที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้ในปัจจุบันถูกระงับการจำหน่าย และเปลี่ยนมาใช้ถังดับเพลิงสีเขียวแทน
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO