ทำไมค่ายรถไฟฟ้าจีน ถึงลงทุนในไทย

" ทำไมค่ายรถไฟฟ้าจีน ถึงลงทุนในไทย เป็นหมื่นล้าน "

        ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้จากจีน ไม่ว่าจะเป็น Great Wall Motor, BYD, SAIC Motor บริษัทแม่ของ MG ได้เข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในประเทศไทย ด้วยเม็ดเงินมหาศาล โดยมีการคาดการณ์ว่ามีมูลค่ามากถึง 50,000 ล้านบาท แล้วทำไมเรา ถึงเนื้อหอมในสายตาค่ายรถไฟฟ้าจีน ? เราสามารถแบ่งจุดแข็ง ที่ทำให้ไทยดึงดูดเงินลงทุน จากผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ได้เป็น 3 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน
 
1. ไทยมีห่วงโซ่อุปทานที่พร้อมต่อการผลิต
“ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” เป็นฉายาที่ไทยได้รับ มาจากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ให้กับแบรนด์ระดับโลกมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น Toyota, Mazda, Isuzu, Ford, BMW, Honda ต่างก็มีฐานการผลิตอยู่ที่ไทย
เรื่องนี้เอง ทำให้ประเทศของเรามีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมทุกช่วงในห่วงโซ่อุปทาน หากเราลองมาดูบริษัทในตลาดหุ้นไทย ก็จะพบว่า มีบริษัทระดับพันล้านบาทหลายบริษัท ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ ยกตัวอย่างเช่น
- บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีสายการผลิตบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์อย่าง เพลาลูกเบี้ยว ท่อร่วมไอเสีย และฟลายวีล เป็นต้น
- บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีธุรกิจหลักคือ การผลิตหลอดไฟ ชุดโคมไฟ ให้กับรถแต่ละประเภท แม้ว่าที่ผ่านมา บางบริษัทอาจได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม ของรถยนต์สันดาป เป็นรถยนต์ไฟฟ้า แต่ล่าสุดก็ได้เริ่มมีการปรับโรงงาน ให้เหมาะกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว และผลจากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ ให้กับแบรนด์ระดับโลกมานาน ทำให้แรงงานในภาคการผลิตของไทย นับเป็นแรงงานที่มีความสามารถสูง สามารถทำงานที่ต้องใช้ทักษะได้ ต่างจากประเทศอื่นอย่างอินโดนีเซีย ที่แม้จะเป็นประเทศที่น่าจับตามอง แต่ยังขาดแรงงานทักษะสูง
 
2. ตลาดในประเทศมีขนาดใหญ่ และเติบโตเร็ว ด้วยความที่ไทยมีจำนวนประชากรมากกว่า 70 ล้านคน ประกอบกับมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี
อ้างอิงข้อมูลจาก Bloomberg ปีที่แล้ว ประเทศไทย
นับเป็นประเทศ ที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากสุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และหากลองมาดูสถิติจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ไม่เกิน 7 คน ชนิดไฟฟ้า ที่จดทะเบียนใหม่
- ปี 2563 จำนวน 1,267 คัน
- ปี 2564 จำนวน 1,943 คัน
- ปี 2565 จำนวน 9,584 คัน
- 7 เดือนแรกของปี 2566 จำนวน 36,572 คัน จะเห็นว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2565 และปีนี้ ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
 
3. ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
ในช่วงที่ผ่านมา ไทยเรามีการออกนโยบาย เพื่อดึงดูดผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่างชาติ ให้เข้ามาลงทุนในไทยหลายนโยบายเลยทีเดียว
โดยมีทั้งการสนับสนุนเงินให้แก่ผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า และผลประโยชน์ทางภาษี เช่น
- การลดภาษีนำเข้ารถทั้งคัน
- ยกเว้นภาษี สำหรับชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรถไฟฟ้าในประเทศไทย
นอกจากนโยบายเหล่านี้ ไทยเรายังมีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เราจึงยิ่งได้เปรียบมากขึ้น เพราะผู้ผลิตสามารถใช้ไทยเป็นฐานในการส่งออกได้
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเลือกตั้งฐานการผลิตใน EEC หรือโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า พื้นที่ตั้งของโครงการ มีความได้เปรียบในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค
รวมถึงมีท่าเรือแหลมฉบัง ที่ทำให้สามารถส่งออกทางเรือได้ ซึ่งนี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งจุดแข็งที่เรามี
อ่านมาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าเรามีความพร้อมสำหรับการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จากความเชี่ยวชาญเดิม บวกกับความพร้อมต่าง ๆ ในห่วงโซ่ ยังเป็นที่ต้องการอยู่
 
การที่เบอร์ต้น ๆ ของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจีน หันมามองและเริ่มเข้ามาลงทุนในไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีไม่น้อย
ด้วยจุดแข็งของเรา ทั้งความพร้อมและความเชี่ยวชาญ ตลาดในประเทศ บวกกับการสนับสนุนจากภาครัฐ
ก็น่าติดตามว่าในยุครอยต่อ จากเครื่องยนต์สันดาป ไปสู่ไฟฟ้า อุตสาหกรรมนี้ จะสร้างการเติบโตให้กับบ้านเรา มากน้อยขนาดไหน
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
Visitors: 7,872