งานสวมมีแบบไหนบ้าง?
Tags: งานสวม
งานสวมมีแบบไหนบ้าง?
3 แบบของงานสวม
(1.)สวมเผื่อ (clearance fit)
(2.)สวมพอดี หรือ สวมคลอน(transition fit)
(3.)สวมอัด(interference fit)
งานสวม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น การประกอบเพลาเข้ากับตัวยึดเพลา การประกอบเพลาเข้ากับตลับลูกปืน วันนี้ FactoriPro จะมานำเสนอว่า งานสวม นั้นมีกี่รูปแบบ และแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร
รูปแบบงานสวมมี ดังนี้
1.สวมเผื่อ (clearance fit)
การประกอบชิ้นงานแบบ สวมเผื่อ (clearance fit) สังเกตเห็นได้ว่าการประกอบแบบนี้ รูจะมีขนาดใหญ่กว่าเพลาเสมอ มักพบเห็นได้ทั่วไปในงานออกแบบ ตัวอย่าง เช่น
- การสวมแบบ loose fit เป็นการสวมที่ไม่ต้องการความแม่นยำในการเคลื่อนที่มากนัก สามารถที่จะถอดเข้าออกเพื่อทำการเปลี่ยนหรือซ่อมบำรุงชิ้นส่วนได้ง่าย ตัวอย่างเช่น การประกอบเพลา เข้ากับ pulley
- การสวมแบบ running fit เป็นการสวมที่ต้องการให้ระยะห่างระหว่างขนาดของเพลาและรูเพลาสามารถเก็บฟิล์มน้ำมันหล่อลื่นได้ ตัวอย่างเช่น การประกอบเพลากับตลับลูกปืน ที่มักจะมีฟิล์มน้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชนิด
2.สวมพอดี หรือ สวมคลอน(transition fit)
การประกอบชิ้นงานแบบ สวมพอดี หรือสวมคลอน (transition fit) จะเห็นได้ว่าเพลาอาจมีขนาดเล็กกว่าหรือใหญ่กว่ารูของเพลาก็ได้ ในการประกอบรูปแบนนี้ จำเป็นต้องใช้แรงจากภายนอกเข้ามาช่วยเล็กน้อย เช่น แรงจากการใช้มือกด แรงจากการใช้ค้อนยางตอกเบา ๆ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างการประกอบดังนี้
- การสวมแบบ Push fit เป็นการประกอบที่ใช้มือกด โดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อย เช่น การประกอบ locating pin
- การสวมแบบ wringing fit เป็นการประกอบที่ใช้แรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับ push fit ตัวอย่างเช่น การประกอบ Key ในช่อง Keyhole ของเพลา
3.สวมอัด(interference fit)
การประกอบชิ้นงานแบบ สวมอัด(interference fit) สังเกตเห็นได้ว่ารูเพลาจะมีขนาดเล็กกว่าเพลาเสมอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกดชิ้นงานในขณะที่ทำการประกอบ หรือ อาจใช้ความร้อนเข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดการขยายตัวของวัสดุในขณะที่ทำการประกอบ โดยในการประกอบงานประเภทนี้จะถอดชิ้นงานออกได้ยากเมื่อทำการประกอบไปแล้ว ตัวอย่างเช่น
- การสวมแบบ shrink or heavy fit เป็นการประกอบแบบที่ใช้ความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องคือ ขยายรูเพลาให้ใหญ่ขึ้น และสวมเพลาในขณะที่รูเพลายังร้อนอยู่หลังจากนั้น ลดอุณหภูมิของรูเพลาลง
- การสวมแบบ medium force fit เป็นการประกอบที่ต้องใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย แรงกดจากมือไม่เพียงพอสำหรับการประกอบ ตัวอย่างเช่น การประกอบยางรถยนต์เข้ากับล้อแม็ก
>> วันนี้ได้ทราบถึง รูปแบบของงานสวมแล้ว ครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด
สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO