มอเตอร์เกียร์มีประเภทไหนบ้าง

มอเตอร์เกียร์มีประเภทไหนบ้าง?

 
มอเตอร์เกียร์ตรง (Helical Gear Motor)
ลักษณะภายในมีฟันเฟืองแบบเฉียงที่ให้คุณสมบัติสามารถลดรอบมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้เหมาะสมกับงานหลายประเภท โดยมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบขาตั้ง หน้าแปลน หรือแบบมอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก ซึ่งนิยมนำมาใช้งานในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ประตูเลื่อนอัตโนมัติ, งานรอกยกของ และอีกมากมาย
 
มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลน (Flange Shaft Gear Motor)
มีลักษณะเด่นบริเวณฝั่งก้านเพลาที่อยู่ตรงกลางด้านข้างจะยื่นออกมาเพื่อใช้รองรับการทำงานร่วมกับมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ได้ในตัว ทำให้มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลนสามารถส่งแรงบิดสูงได้เต็มกำลัง ทำงานเงียบ และสะดวกในการติดตั้งใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและเบาทุกชนิด เช่น งานยก, สายพานลำเลียงสินค้า
 
มอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก (Reducer Double Shaft Gear Motor)
หรือมอเตอร์เกียร์ 2 เพลา จะมีลักษณะโดดเด่นที่ก้านเพลาจะยื่นออกมาจากหัวเกียร์ทั้งสองด้าน คือ ด้านข้างหรือด้านบน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ต้านทานต่อแรงกระแทกและการสึกหรอ ทำให้สามารถใช้ในระบบการทำงานที่ซับซ้อนได้ดี โดยมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบขาตั้งและแบบหน้าแปลน จึงเหมาะสำหรับใช้ติดตั้งเข้ากับยอย (Couping), โซ่เฟือง, สายพานลำเลียง
 
มอเตอร์เกียร์แบบขาตั้ง (Parallel Shaft Gear Motor)
โครงสร้างภายนอกประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องเกียร์ และก้านเพลายื่นออกมา โดยที่ฝั่งเกียร์จะมีฐานเป็นขาตั้งที่ใช้สำหรับติดตั้งและยึดเข้ากับเครื่องจักรได้อย่างแน่นหนา ทำให้มอเตอร์เกียร์ทำงานได้แข็งแกร่งทนทาน และให้แรงบิดในการขับเคลื่อนสูง จึงเหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง เช่น งานยก, งานลำเลียงสินค้า, ขับเคลื่อนเครื่องจักร
 
มอเตอร์เกียร์แพลนเนตตารี่ (Planetary Gear Motor)
โครงสร้างถูกออกแบบมาให้ส่งถ่ายกำลังจากชุดฟันเฟืองที่เคลื่อนที่รอบแกนของฟันเฟืองตัวอื่นและในขณะเดียวกันก็จะหมุนรอบตัวเองด้วย ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่สามารถถ่ายโอนน้ำหนักระหว่างการใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อน จึงเป็นที่นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์กันอย่างแพร่หลาย
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
Visitors: 7,873