พลาสติกวิศวกรรม มีประเภทใดบ้าง และ เลือกใช้งานอย่างไร?

พลาสติกวิศวกรรม มีประเภทใดบ้าง และ เลือกใช้งานอย่างไร?

What types of engineering plastics are there

พลาสติกวิศวกรรม มีประเภทใดบ้าง
- เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)
- เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting Plastic)
- Polytetrafluoroethylene (Teflon)
- Polyamides (Nylon)
- Acrylonitrile Butadiene
- Styrene (ABS)
- Polyethylene (PE)

       ในภาคอุตสาหกรรม พลาสติกเป็นสิ่งที่สำคัญในการผลิตสิ่งของต่างๆ ดังนั้นในภาคอุตสาหกรรม วิศวกรรม สามารถที่จะแบ่งพลาสติกออกเป็นหลายประเภท ซึ่งวันนี้ทาง FactoriPro จะมานำเสนอว่าพลาสติกวิศวกรรมนั้นมีอะไรบ้างและการใช้งานอย่างไร

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

     พลาสติกที่มีคุณสมบัติคือเมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นของเหลว สามารถนำไปขึ้นรูปให้มีลักษณะต่าง ๆ ได้ และเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นตัว เทอร์โมพลาสติกก็จะกลับมาแข็งตัวได้อีกครั้ง
ข้อดี : สามารถรีไซเคิลได้
ข้อเสีย : มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเจออุณหภูมิสูง
 

เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting Plastic)

     พลาสติดที่มีความคงที่สูง เมื่อได้รับความร้อนจะไม่มีการอ่อนตัว หรือเกิดการหลอมเหลว แต่หากได้รับความร้อนในอุณหภูมิที่เกินจะรับไหว จะทำให้เทอร์โมเซตติ้งแตกชำรุด ไหม้เป็นขี้เถ้า ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก
ข้อดี : ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อแรงกระแทก และทนต่อสารเคมีได้ดี
ข้อเสีย : ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ด้วยการหลอม
 

เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)

พลาสติกที่มีคุณสมบัติคือเมื่อได้รับความร้อนจะกลายเป็นของเหลว สามารถนำไปขึ้นรูปให้มีลักษณะต่าง ๆ ได้ และเมื่อทิ้งไว้ให้เย็นตัว เทอร์โมพลาสติกก็จะกลับมาแข็งตัวได้อีกครั้ง
ข้อดี : สามารถรีไซเคิลได้
ข้อเสีย : มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเจออุณหภูมิสูง
 

เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting Plastic)

พลาสติดที่มีความคงที่สูง เมื่อได้รับความร้อนจะไม่มีการอ่อนตัว หรือเกิดการหลอมเหลว แต่หากได้รับความร้อนในอุณหภูมิที่เกินจะรับไหว จะทำให้เทอร์โมเซตติ้งแตกชำรุด ไหม้เป็นขี้เถ้า ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก
ข้อดี : ทนความร้อนได้ดี ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนต่อแรงกระแทก และทนต่อสารเคมีได้ดี
ข้อเสีย : ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ด้วยการหลอม
 

การเลือกพลาสติกวิศวกรรมให้เหมาะกับการใช้งาน

Polytetrafluoroethylene (Teflon) – มีความโดดเด่นในเรื่องของการทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาทำเป็นสารเคลือบผิวในเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือกระทะ และนำมาทำเป็นฉนวนกันความร้อน
 
Polyamides (Nylon) – มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อสารเคมี ทนต่อแรงกดทับและแรงดึง จึงนิยมเลือกมาใช้งานกับเครื่องจักร โดยนำมาผลิตเป็นล้อ สายพานลำเลียงในโรงงานโดยส่วนใหญ่ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเคเบิ้ลไทร์
 
Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) – มีความทนทานต่อสารเคมีสูง ทนความร้อนได้ดี มีความเหนียวทนทาน และมีคุณสมบัติพิเศษคือมีความเป็นเงา นิยมนำมาทำเป็นชิ้นส่วนตัวต่อของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์
 
Polyethylene (PE) – เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงและเหนียว ทนสารเคมีได้ มีคุณสมบัติคือลอยน้ำได้ เนื้อสัมผัสมีความลื่นมัน นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นขวดน้ำ ขวดบรรจุสารเคมี ท่อน้ำ ท่อไฟฟ้า
Polytetrafluoroethylene (Teflon) – มีความโดดเด่นในเรื่องของการทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาทำเป็นสารเคลือบผิวในเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือกระทะ และนำมาทำเป็นฉนวนกันความร้อน
 
Polyamides (Nylon) – มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อสารเคมี ทนต่อแรงกดทับและแรงดึง จึงนิยมเลือกมาใช้งานกับเครื่องจักร โดยนำมาผลิตเป็นล้อ สายพานลำเลียงในโรงงานโดยส่วนใหญ่ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเคเบิ้ลไทร์
 
Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) – มีความทนทานต่อสารเคมีสูง ทนความร้อนได้ดี มีความเหนียวทนทาน และมีคุณสมบัติพิเศษคือมีความเป็นเงา นิยมนำมาทำเป็นชิ้นส่วนตัวต่อของเล่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์
 
Polyethylene (PE) – เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงและเหนียว ทนสารเคมีได้ มีคุณสมบัติคือลอยน้ำได้ เนื้อสัมผัสมีความลื่นมัน นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นขวดน้ำ ขวดบรรจุสารเคมี ท่อน้ำ ท่อไฟฟ้า
 
      >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
 
Visitors: 7,873