หมวกนิรภัยมีมาตรฐานอะไรบ้าง?

หมวกนิรภัยในที่ใช้กันอยู่ มีมาตรฐานอะไรบ้าง?

มาตรฐานของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้
         หมวกนิรภัยมีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทจะผ่านการทดสอบที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ที่เหมาะสมกับหน้างานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ มาตราฐานของหมวกเซฟตี้มีทั้งหมด 5 มาตราฐาน ซึ่งได้แก่ Osha Standard, Ansi/Isea Z89.1 standard, En Standard, CSA Z94.1 Standard และ มาตราฐาน มอก.OSH Standard มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ๕ มาตรฐาน
 
(1)มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ. 402 : 2561)
 
เพื่อให้มีข้อกำหนดขั้นต่ำและวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้บุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน ใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การจัดการเพื่อการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป
 
(2)มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.401: 2561)
 
เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีแนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2553 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทำมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ. 401: 2561) ขึ้น อีกทั้งสถานประกอบกิจการหรือหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการใช้บังคับก็สามารถนำมาตรฐานฉบับนี้ไปดำเนินการในการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยของคนทำงานทุกคนและสามารถพัฒนาศักยภาพองค์กรสู่มาตรฐานสากลได้ต่อไป
 
(3)มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 302 : 2561)
 
เป็นมาตรฐานที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับวัสดุที่จะต้องยกและเคลื่อนย้ายด้วยแรงกาย การออกแบบปรับปรุงสถานีงาน สภาพแวดล้อมของบริเวณที่ปฏิบัติงานและการบริหารจัดการ รวมถึงการดูแลพฤติกรรมของลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกาย ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก อันเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน
 
(4)มาตรฐานการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (มปอ. 301 : 2561)
 
เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานและสถานประกอบกิจการดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานในสำนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ลูกจ้างตามหลักการยศาสตร์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมปัจจัยสำคัญของการปรับปรุงงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สถานีงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในบริเวณสถานีงาน และการบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ เมื่อดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานตามข้อกำหนดในมาตรฐานนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานสามารถใช้แบบประเมินท่าทางในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ของลูกจ้าง และปรับปรุงให้สอดคล้องกับท่าทางการปฏิบัติงานที่แนะนำในมาตรฐาน นอกจากนี้มาตรฐานนี้ได้แนะนำท่าบริหารร่างกายที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ ในระหว่างวันทำงาน เพื่อผ่อนคลายอาการปวดเมื่อยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อที่ใช้งานมากในขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ และสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน
 
(5)มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ. 101 : 2561)
 
เป็นมาตรฐานที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้บังคับกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง โดยมีสาระสำคัญบางส่วนที่ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้ตามกฎหมาย และบางส่วนที่เป็นมาตรฐานการทำงานบนที่สูงในลักษณะงานที่อาจมีอันตรายจากการปฏิบัติงานแม้ยังมิได้มีการบังคับใช้ตามกฎหมายมาตรฐานหมวกนิรภัยตาม ANSI Standard Z89.1-2003
 
ขอบเขตและการใช้งาน
          มาตรฐานนี้อธิบายถึง ประเภทหมวกนิรภัย และระดับของหมวกนิรภัย การทดสอบและความต้องการด้านประสิทธิภาพของหมวก รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยความต้องการด้านประสิทธิภาพพื้นฐานจะถูกกำหนดด้วย การป้องกันจากการกระแทก การเจาะ และการกันไฟฟ้า ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงเท่านั้น ไม่ใช่ให้สามารถกันได้อย่างสมบูรณ์จากการกระแทกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยควรจะสามารถทนได้ต่อการตกใส่ของเครื่องมือเล็กๆ น็อต สกรู ชิ้นส่วนของไม้ เป็นต้น
 
ประภทของหมวกนิรภัย
          มาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า
 
โดยทั่วไปหมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2
 
หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบสำหรับกันกระแทกจาก้านข้าง
 
หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้างหมวกนิรภัย ประเภทที่ E
 
ตัว E ย่อมาจาก Electrical ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดี โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)
 
หมวกนิรภัย ประเภทที่ G
ตัว G ย่อมาจาก General หมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์
 
หมวกนิรภัย ประเภทที่ C
ตัว C ย่อมาจาก Conductive หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า
 
การระบุเครื่องหมาย
หมวกนิรภัยควรจะมีชื่อ หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิต วันที่ผลิต เครื่องหมายมาตรฐาน ANSI และขนาดหมวกการทดสอบประสิทธิภาพหมวก ตาม ANSI Z89.2003
 
วัสดุของหมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้
วัสดุในการใช้ทำหมวกเซฟตี้ หรือหมวกนิรภัยมีทั้งหมวก 3 อย่าง คือ ทำด้วยพลาสติก ไฟเบอร์กลาส และโลหะ
 
หมวกนิรภัยทำด้วยพลาสติก มีสี่ประเภท
- เหนียว ยืดยุนดี ทนทาน น้ำหนักเบา
- ทนกรด และด่างอ่อน
- ไม่ทนน้ำมันและความร้อนที่อุณหภูมิสูง
- เหนียว ยืดยุนดี ทนทานกว่าตัว โพลีเอทีลีน (PE)
- สามารถทนความร้อนได้
- เป็นหมวกเซฟตี้ที่มีความเหนียว และยืดยุ่นดีกว่า ABS
- เหมาะสำหรับ งานก่อสร้าง งานเกี่ยวกับเคมี งานเกี่ยวกับเไฟฟ้า
- มีความแข็งแรง และกันกระแทกได้ดี ไม่เป็นรอยง่าย
- ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
- กันสารเคมีเช่น กรด แอลกอฮอล์ น้ำมัน ไฮโดริก
 
หมวกนิรภัยทำด้วยไฟเบอร์กลาส
- น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานกว่า HDPE และABS
- สามารถทนความร้อนได้ถถึง 500℃
- สามารถกันสารเคมีเช่น กรด น้ำมัน
- สามารถรีไซเคิลได้
- เหมาะสำหรับ โรงผลิตเหล็ก น้ำมัน หรืองานที่มีรังสีความร้อน
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
  Line : @FACTORIPRO
 
Visitors: 7,873