เครื่องหมาย Q คือมาตราฐานอะไร
เครื่องหมาย Q คือมาตราฐานอะไร?
1. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร :
เครื่องหมายที่ใช้เเสดงกับสินค้าเกษตร เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับเเหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าเกษตร ซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารข้อมูลไปยังผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ เพื่อให้เกิดการยอมรับเชื่อมั่น เเละเชื่อถือต่อสินค้าเกษตรว่ามีมาตรฐาน คุณภาพ เเละความปลอดภัย เป็นสัญลักษณ์ที่เเสดงนัยสำคัญในการสื่อสารเเละเชื่อโยงข้อมูลระหว่างผู้ผลิตเเละผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะทราบว่าสินค้าเกษตรที่เเสดงเครื่องหมายรับรองมีการผลิตเเละตรวจสอบรับรองเเล้วว่าเป็นไปตามมาตรฐานเเละสามารถตามสอบถึงเเหล่งกำเนิดสินค้าดังกล่าวได้
2. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรมี 3 เเบบ :
2.1 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับมีลักษณะเป็นรูปอักษร Q สีเขียว ทรงกลมอยู่ในกรอบหกเหลี่ยมสีเขียว
2.2 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป มีลักษณะเป็นรูปอักษร Q สีเขียว ทรงกลม
2.3 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไปสำหรับมาตรฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ สามารถใช้สีใดก็ได้ เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายเเละชัดเจน
3. ผู้มีสิทธิเเสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร :
ผู้ได้รับใบรับรองมาตรฐานเป็นผู้มีสิทธิเเสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานกับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นได้ทั้งมาตรฐานทั่วไปเเละมาตรฐานบังคับ
4. วิธีการใช้เเละเเสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร :
4.1 การรับรองสินค้าเกษตร : ให้ผู้ได้รับใบรับรองเเสดงให้เห็นได้ง่ายเเละชัดเจนไว้ที่สินค้าเกษตรหรือเเสดงไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด หรือป้ายของสินค้าก็ได้ เเละจะต้องระบุรหัสภายใต้เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน
4.2 การรับรองระบบการผลิต : ให้เเสดงที่สถานประกอบการ เอกสารรับรอง เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เท่านั้น ไม่สามารถเเสดงกับสินค้าเกษตรได้
5. ขอรับการรับรองได้ที่ ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ภาครัฐเเละภาคเอกชน :
ภาครัฐ
• กษ 01 - กรมประมง
• กษ 02 - กรมปศุสัตว์
• กษ 03 - กรมวิชาการเกษตร
• กษ 09 - กรมการข้าว
• กษ 10 - กรมหม่อนไหม
• กษ 20 - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
ภาคเอกชน
• กษ 12 - บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 13 - บริษัทโกลบอล เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด
• กษ 14 - บริษัท โซโคเทค เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 15 - สำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.)
• กษ 16 - บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 17 - สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ
• กษ 18 - บริษัท ทูฟ นอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 21 - บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 22 - บริษัท วูฟเเกงค์ พล์าท (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 23 - สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร หมาวิทยาลัยเเม่โจ้
• กษ 24 - บริษัท อินเตอร์เทค อินดัสทรี เเอนด์ เซอร์ทิฟิเคชั่นเซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 25 - บริษัท เอ-วัน ฟิวเจอร์ จำกัด
• กษ 27 - บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการเเละวิจัยทางการเเพทย์เเละการเกษตรเเห่งเอเชีย จำกัด
• กษ 28 - บริษัท ไทย จี เอ พี 09 จำกัด
• กษ 30 - บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 31 - บริษัท ยูไอซี เซอร์ติฟิเคชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด
• กษ 32 - บริษัท อินเตอร์เนชั่นเเนล เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
• กษ 33 - บริษัท เอ็ม เอส เซอร์ติฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
6. บทลงโทษ :
ผู้ปลอมเเปลงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน หรือเเสดงเครื่องหมายรับรองโดยที่ไม่ได้รับรอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทัังปรับ
7. ผู้ได้รับประโยชน์การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ผู้ผลิต
1. ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายในการเเสดงเเละเครื่องหมายรับรอง
2. นำไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาต่อรองทางการค้า
3. นำไปใช้ประโยชน์ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เผยเเพร่ เพื่อเเนะนำสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐาน
4. เพิ่มโอกาสเเละช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรเพื่อให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพเเละปลอดภัยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
- ผู้จำหน่าย
1. สามารถใช้ประโยชน์ในการเเนะนำ เผยเเพร่การจำหน่ายสินค้าที่ได้รับการรับรองเเละเเสดงเครื่องหมายรับรอง
2. สามารถตามสอบเเหล่งที่มา ของสินค้าทั้งในกรณีปกติ เเละ/หรือกรณีพบว่าสินค้ามีปัญหา
- ผู้บริโภค
1. มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นในการซื้อสินค้าที่มีมาตรฐาน คุณภาพเเละความปลอดภัยภายใต้เครื่องหมายรับรอง