นิวเคลียร์ฟิวชันต่างกับนิวเคลียร์ฟิชชันอย่างไร?
นิวเคลียร์ฟิวชันต่างกับนิวเคลียร์ฟิชชันอย่างไร?
เมื่อผู้คนนึกถึงพลังงานนิวเคลียร์ เราอาจนึกถึงหอหล่อเย็นและควันจากการระเบิดรูปเห็ด แต่นิวเคลียร์ฟิวชันนั้นแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดจากการผสมรวมของอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปเข้าด้วยกันกลายเป็นอะตอมที่ใหญ่กว่า
แต่นิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear Fission) นั้นตรงกันข้าม โดยเป็นกระบวนการแยกอะตอมที่ใหญ่กว่าออกเป็น 2 อะตอมที่เล็กกว่า
นิวเคลียร์ฟิชชันเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลกในปัจจุบัน แต่สิ่งที่คล้ายกับนิวเคลียร์ฟิวชันคือ ความร้อนที่เกิดจากการแตกตัวของอะตอมนั้นถูกใช้ในการสร้างพลังงานเช่นเดียวกัน
ขณะที่นิวเคลียร์นั้นเป็นแหล่งพลังงานที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ แต่ก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสีที่ระเหยง่ายและต้องจัดเก็บอย่างปลอดภัย อีกทั้งมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ซึ่งการหลอมละลายของนิวเคลียร์แม้ว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะส่งผลลัพธ์ที่หลากหลายและร้ายแรง เช่น ที่เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะและเชอร์โนบิล
แต่นิวเคลียร์ฟิวชันไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยดังกล่าว และวัตถุดิบที่ใช้สร้างพลังงานก็มีครึ่งชีวิตที่สั้นกว่านิวเคลียร์ฟิชชันมาก
ส่วนกากกัมมันตรังสีที่ผลิตโดยกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันยังมีระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับนิวเคลียร์ฟิชชัน และสามารถจัดการและจัดเก็บได้ง่ายกว่ามาก
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) เรียกการทดลองนิวเคลียร์ฟิวชันว่า ‘ความปลอดภัยที่แท้จริง’
โดยการทดลองนิวเคลียร์ฟิวชันนั้นเป็นกระบวนการที่จำกัดตัวเอง ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ ตัวเครื่องที่ทำการทดลองจะปิดเอง
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO