วิธีป้องกันการสั่นสะเทือนในเครื่องจักรอัตโนมัติมีอะไรบ้าง?
วิธีป้องกันการสั่นสะเทือนในเครื่องจักรอัตโนมัติมีอะไรบ้าง?
การลดทอนการสั่นสะเทือนในระบบได้อย่างไร
1.แยกติดตั้งอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือน
2.การปรับปรุงโครงสร้าง
3.ใช้อุปกรณ์ดูดซับแรง
4.ใช้ระบบควบคุมการสั่นสะเทือนแบบแอคทีฟ (Active Vibration Isolators)
ผลกระทบของแรงสั่นสะเทือนต่อระบบ
การสั่นสะเทือนในเครื่องจักรอัตโนมัติอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ขาดวัสดุดูดซับแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทก โหลดที่ไม่สมดุล การวางแนวการเคลื่อนที่ไม่ตรง หรือการเร่งหรือชะลอความเร็วที่ไม่เหมาะสม โดยการสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจส่งผลต่อความแม่นยำ ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพโดยรวมของอุปกรณ์ อีกทั้งยังส่งผลให้ลดทอนอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องจักรลงอีกด้วย
ลดทอนการสั่นสะเทือนในระบบได้อย่างไร
การปรับสมดุลและการจัดตำแหน่งของอุปกรณ์และโครงสร้าง ควรออกแบบส่วนประกอบที่หมุนได้ทั้งหมด เช่น มอเตอร์ แท่นหมุน ให้มีความสมดุลและจัดเรียงอย่างเหมาะสม โหลดที่ไม่สมดุลและการวางแนวที่ไม่ตรง สามารถส่งผลต่อปัญหาการสั่นสะเทือนได้อย่างมาก ดังนั้นการตรวจสอบการบำรุงรักษาเป็นประจำเพื่อแก้ไขความไม่สมดุลหรือการวางแนวที่ไม่ถูกต้อง จึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก
1. แยกติดตั้งอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือน
ใช้แท่นยึดแยกเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่สั่นแรง ออกจากส่วนที่เหลือของระบบ ซึ่งจะช่วยป้องกันการส่งแรงสั่นสะเทือนไปรบกวนยังส่วนประกอบที่ละเอียดอ่อนอื่นๆได้ นอกจากจะช่วยให้ควบคุมคุณภาพการผลิตได้ง่ายและเพิ่มความทนทานให้เครื่องจักรได้แล้ว ยังทำให้สามารถออกแบบโครงสร้างที่ทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนระดับสูงแค่เฉพาะจุดที่สั่นแรงได้ ส่งผลให้ต้นทุนการออกแบบแบบและผลิตเครื่องจักรลดลงได้ด้วยเช่นกัน
2. การปรับปรุงโครงสร้าง
เสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างของระบบเพื่อลดการบิดตัว หรือการโค้งงอที่อาจนำไปสู่การสั่นสะเทือน โดยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับส่วนประกอบที่สำคัญ ช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าทั้งระบบมีความแข็งแกร่งพอที่จะสามารถช่วยลดทอนการสั่นสะเทือนได้
3. ใช้อุปกรณ์ดูดซับแรง
เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและใช้กันแพร่หลายที่สุด โดยใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นเพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือน และลดแรงกระแทกต่อส่วนที่มีการเคลื่อนที่ เช่น โช๊ค, ยาง หรืออีลาสโตเมอร์ รวมถึงพิจารณาใช้ตัวยึดป้องกันการสั่นสะเทือนสำหรับอุปกรณ์ที่มีโอกาสเกิดการสั่นสะเทือน
4. ใช้ระบบควบคุมการสั่นสะเทือนแบบแอคทีฟ (Active Vibration Isolators)
ระบบเหล่านี้ใช้เซ็นเซอร์ (Sensor) เพื่อตรวจจับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในระบบ จากนั้นตัวควบคุม (Controller) จะสั่งให้แอคชูเอเตอร์ (Actuator) ตอบโต้โดยการส่งการสะเทือนในความถี่ที่จะมาหักล้างแรงสั่นสะเทือนในระบบ เพื่อลดทอนแรงสั่นสะเทือนลง โดยจะเป็นการควบคุมการสั่นสะเทือนแบบเรียลไทม์ มักจะพบในอุปกรณ์ที่ต้องการความนิ่งมากๆเช่นเครื่องมือวัดความละเอียดสูง หรือในยานยนต์
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO