แผ่นยางในงานวิศวกรรมมีอะไรบ้าง?
Tags: แผ่นยาง
แผ่นยางในงานวิศวกรรมมีอะไรบ้าง?
แผ่นยางในงานวิศวกรรมมีอะไรบ้าง?
1. ยางรองคอสะพาน
2. แผ่นยางกันน้ำซึม
3. ยางกันกระแทก
4. แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน
5. ปะเก็นยาง
6. ยางปูพื้น
7. แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ
8. ท่อยาง
9. ฝายยาง
10. ยางรองรางรถไฟ
11. สายพานลำเลียง
12. ยางพาราที่ใช้ผสมกับยางมะตอยเพื่อราดถนน
13. ยางรองอาคารเพื่อกันการสะเทือน
14. ผลิตภัณฑ์ยางขอบ
วันนี้ FactoriPro จะมานำเสนอ 14 แผ่นยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ว่ามีอะไรบ้าง ?
1. ยางรองคอสะพาน
ยางรองคอสะพานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นหรือก้อนสี่เหลี่ยม ใช้ติดตั้งบนตอม่อสะพานเพื่อรับน้ำหนักโครงสร้างส่วนบนของสะพานซึ่งทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กและน้ำหนักบรรทุกของยานพาหนะ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้น้ำหนักและแรงกระแทกหรือแรงสะเทือนส่วนบนไปสร้างความเสียหายกับโครงสร้างส่วนล่างของสะพาน และมีส่วนช่วยลดปัญหาของการยืดตัวหดตัวของโครงสร้างส่วนบนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ ตลอดจนลดปัญหาการสั่นไหวอันเนื่องมาจากแรงสะเทือนจากแผ่นดินไหวด้วย ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีโครงการเปลี่ยนเหล็กรองสะพานเป็นยางทุกสะพานทั่วประเทศ ทั้งนี้เนื่องมาจากการศึกษาในการแก้ปัญหาสะพานพังจากแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ.2538 ที่เกียวโตยางรองคอสะพานแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบยางล้วน และแบบยางเสริมแผ่นเหล็ก สามารถผลิตได้จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ โดยจะมีขนาดแตกต่างกันไปตามการออกแบบสะพานและการรับน้ำหนัก
2. แผ่นยางกันน้ำซึม
แผ่นยางกันน้ำซึม เป็นผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นเส้นยาว ใช้ในการป้องกันการซึมผ่านของน้ำระหว่างรอยต่อคอนกรีต เช่น คานกับพื้นหรือผนัง พื้นกับพื้น พื้นกับผนัง เป็นต้น แผ่นยางกันน้ำซึมจะถูกวางระหว่างรอยต่อคอนกรีตสองส่วนป้องกันน้ำซึมผ่านรอยร้าวอันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนหรือการยุบตัวของคอนกรีต จะเห็นการใช้งานแผ่นยางกันน้ำซึมได้จากงานก่อสร้างทั่วไป เช่น ถนน คานสะพาน อาคารใต้ดิน บ่อน้ำใต้ดิน เขื่อน เป็นต้น แผ่นยางกันน้ำซึมมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ขึ้นอยู่กับงานที่จะนำไปใช้ เช่น แบบดัมเบลล์ แบบกระเปาะตรงกลาง เป็นต้น ส่วนมากทำจากยางธรรมชาติ
3. ยางกันกระแทก
เริ่มแรกยางกันกระแทกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกันการกระแทก โดยตรงจากการวิ่งผ่านหรือเข้าจอดเทียบท่าของเรือและรถ เป็นการช่วยป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งปลูกสร้างหรือยวดยานที่มาชนหรือกระแทกได้ ปัจจุบันยางกันกระแทกสามารถนำมาใช้ในเครื่องจักรได้เช่นรับแรงกระแทก รับแรงสั่นสะเทือน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะถูกออกแบบและผลิตเพื่อใช้ติดตั้งบริเวณต่างๆ ของเครื่องจักร ของสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจจะออกแบบสำหรับติดตั้งกับส่วนใดส่วนหนึ่งของยวดยาน เช่น บริเวณหัวเรือ ข้างเรือ และท้ายเรือ ยางกันกระแทกมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะและประเภทของการใช้งาน ส่วนมากผลิตจากยางธรรมชาติ
4. แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน
แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน เป็นแผ่นยางที่ผลิตขึ้นโดยการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ เชื่อมหรือประสานรอยต่อของพื้นสะพานที่เป็นช่วงของการเชื่อมโครงสร้างส่วนคานของสะพานเข้ากับตอม่อ ในแต่ละช่วงที่มีช่องว่างอยู่ แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพานมีหน้าที่ลดปัญหาการยืดตัวหดตัวของพื้นสะพาน คอนกรีตอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ สามารถช่วยป้องกันการเสียดสีระหว่างพื้นคอนกรีตและยังช่วยให้พื้น ตรงบริเวณรอยต่อมีความราบเรียบอีกด้วย จึงเหมาะส าหรับการใช้เป็นอุปกรณ์เชื่อมรอยต่อของสะพาน ทางด่วน และทางยกระดับ แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน ส่วนมากผลิตจากยางสังเคราะห์ เนื่องจากต้องถูกใช้งานภายใต้อากาศ ร้อนและโอโซนตลอดเวลา มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับการออกแบบขนาดสะพาน
5. ปะเก็นยาง
ปะเก็นยางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันการไหลซึมของน้ำหรือของเหลวอื่นๆ เช่น น้ำมันหรือสารเคมี ระหว่างรอยต่อของผิวสัมผัส 2 พื้นผิว ใช้ติดตั้งบริเวณรอยเชื่อมต่อของท่อที่ใช้สำหรับระบบสั่งจ่ายหรือ ลำเลียงน้ำหรือของเหลวอื่น เช่น ท่อส่งน้ำท่อร้อยท่อสายเคเบิลใต้น้ำหรือสายไฟฟ้า เป็นต้น ปะเก็นยางมักจะถูกผลิตในรูปแบบม้วนที่ความหนาต่างๆ กัน เมื่อจะนำไปใช้งานจะนำม้วนยางมาตัด เป็นรูปแบบต่างๆ ตามการใช้งาน ส่วนมากปะเก็นยางทำจากยางธรรมชาติ
6. ยางปูพื้น
ยางปูพื้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ปูพื้นเพื่อเป็นการป้องกันการชำรุดเสียหายของพื้นและ เพื่อเพิ่มความเสียดทานระหว่างพื้นและรองเท้าป้องกันการลื่นไถลอีกทั้งยังเป็นการลดแรงกระแทกระหว่าง การเดินทำให้ลดอาการบาดเจ็บได้หรือช่วยป้องกันการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการลื่นหรือหกล้มจากการทำกิจการต่างๆ การใช้ยางปูพื้นมีทั้งการใช้ในอาคารและนอกอาคาร เช่น บริเวณทางเดินเท้า สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สวนสนุก สถานรับเลี้ยงเด็ก รอบสระว่ายน้ า หรือแม้แต่บริเวณระเบียงและห้องนั่งเล่น ยางปูพื้นส่วนมากผลิตจากยางธรรมชาติ สามารถทำได้หลายสี มีทั้งเป็นแบบแผ่นหรือบล็อค มีขนาด ต่างๆ กัน ขึ้นกับการออกแบบ
7. แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ
ในสภาพปัจจุบันที่แหล่งต้นน้ำลำธารมีแนวโน้มลดลงทำให้น้ำเป็นทรัพยากรที่กำลังจะขาดแคลนเมื่อ เทียบกับปริมาณความต้องการใช้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกขณะ การกักเก็บน้ำไว้เพื่อให้มีใช้เพียงพอตลอดปีเป็น สิ่งที่จำเป็นทั้งในด้านการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ประกอบกับปัจจุบันโรงงาน อุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียมีความจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียจากโรงงานก่อนที่จะปล่อยน้ำลงแม่น้ำลำคลองหรือ บริเวณข้างเคียง ดังนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้มีน้ำไว้ใช้เพียงพอ ในขณะที่ การก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามในพื้นที่บางแห่งที่อยู่บริเวณที่สูงหรือเป็นดินทราย การขุดบ่อกักเก็บน้ำแบบธรรมดาทั่วไป จะไม่สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้เนื่องจากน้ำจะรั่วซึมได้ง่าย ปัญหาดังกล่าวอาจแก้ไขได้โดยการใช้ แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำเป็นผืนยางที่ใช้ปูบริเวณก้นและขอบโดยรอบของอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ หรือบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำออกนอกที่เก็บ ทำให้สามารถเก็บน้ำไว้ได้นาน นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันมิให้สิ่งสกปรกอื่น ๆ ในดินไหลย้อนเข้าไปในที่เก็บได้ด้วย
8. ท่อยาง
ท่อยางในที่นี้หมายถึง ท่อยางขนาดใหญ่ ที่ใช้เป็นท่อดูดและท่อส่ง และข้อต่อท่อกันสะเทือน (Expansion Joint) ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญในงานก่อสร้างและงานส่งลำเลียงของเหลวผ่านท่อ ใช้สำหรับงานติดตั้งท่อส่งน้ำ สูบน้ำ ระบายน้ำทิ้ง ที่ติดถาวรกับอาคารโรงงานหรือสำนักงาน ทางยกระดับ สะพานลอย หรือใช้เป็นข้อต่อของท่อประเภทอื่น ๆ ที่ต้องการให้ช่วงข้อต่อนั้นมีความยืดหยุ่นหรือเคลื่อนตัวได้ ระดับหนึ่ง หรือใช้เป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้เช่น ท่อยางสำหรับสูบน้ า ท่อดับเพลิง ท่อส่งปูน ท่อยางมีทั้งประเภทที่ผลิตจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ถ้าใช้ส่งน้ำหรือสินแร่ก็สามารถใช้ ยางธรรมชาติได้หากต้องการใช้ขนส่งน้ำมันหรือสารเคมี อาจจำเป็นต้องใช้ยางสังเคราะห์ ท่อยางสามารถผลิต ได้หลายขนาด ตามความดันใช้งานที่ออกแบบ
9. ฝายยาง
ฝายยางเป็นสิ่งก่อสร้างทางชลประทาน ที่ก่อสร้างขึ้นขวางลำน้ำ เพื่อใช้ทดน้ำและกักเก็บน้ำหรือ ระบายน้ำ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ฝายยางมีลักษณะเป็นทรงกระบอกวางขวางลำน้ำบนฐานคอนกรีต เมื่อฝายยางถูกอัดด้วยน้ำหรือลมเข้าไป ตัวฝายยางก็จะพองตัวขึ้นจนถึงความสูงที่ต้องการก็จะสามารถกักเก็บน้ำบริเวณหน้าฝายได้ เมื่อต้องการระบายน้ำก็ปล่อยน้ำหรือลมออกจากตัวฝายยาง ฝายยางก็จะยุบตัวลงตามที่ ต้องการ ทำให้สามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ต้องการระบายได้ ในฤดูน้ำหลาก ฝายยางสามารถล้มตัวลงแบน ราบกับท้องน้ำไม่ขวางการไหลของน้ำจึงไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไปยังบ้านเรือนของ ประชาชน นอกจากจะใช้ประโยชน์จากฝายยางในการทดน้ำแล้ว ฝายยางยังสามารถนำมาดัดแปลงใช้เป็น ฝายกันคลื่นกระแทก ใช้เป็นฝายเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้เป็นฝายกันน้ำเค็ม ได้อีกด้วย
10. ยางรองรางรถไฟ
ยางรองรางรถไฟ เป็นผลิตภัณฑ์ยางมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใช้วางระหว่างไม้หมอนรถไฟกับรางรถไฟเพื่อลดการสั่นสะเทือนขณะที่รถไฟวิ่งผ่าน เป็นการยืดอายุการใช้งาน ของทั้งรางรถไฟและไม้หมอน
11. สายพานลำเลียง
สายพานลำเลียงเป็นผลิตภัณฑ์ยางอีกประเภทหนึ่งที่มีการใช้ยางธรรมชาติเป็นปริมาณมาก เป็นยางเสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใย มีความทนทานต่อการเสียดสี ใช้ประโยชน์ในการลำเลียงวัสดุได้ หลายประเภท เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร การใช้งานส่วนมากจะพบเห็นได้ในเหมืองแร่ การขนส่งพืชผล ทางการเกษตร เช่น จากโรงอบพืชไปยังไซโลเก็บ เป็นต้น สามารถใช้ลำเลียงวัสดุในแนวราบหรือแนวเอียง จากที่ต่ำไปยังที่สูงได้ดี ขนาดของสายพานจะมีความกว้างความยาว ขึ้นกับการใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตาม
12. ยางพาราที่ใช้ผสมกับยางมะตอยเพื่อราดถนน
การราดถนนด้วยยางมะตอยเพื่อเป็นพื้นผิวจราจรได้มีการปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในประเทศที่มีอากาศร้อน ยางมะตอยนี้ก็จะเหลวค่อนข้างง่าย ทำให้มีการไหลของยางมะตอยเกิดขึ้นเป็น ผลให้ถนนเสียรูปหรือชำรุดได้เมื่อมีน้ำหนักยานพาหนะมากดทับ ปัจจุบันประเทศที่มีการใช้ยางผสมในยางมะตอย ในการราดถนนแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
13. ยางรองอาคารเพื่อกันการสะเทือน
ยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับยางรองคอสะพาน แต่การออกแบบแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน มีลักษณะเป็น รูปทรงกระบอกตัน ภายในเสริมความแข็งแรงด้วยแผ่นเหล็กบางหลายแผ่น ใช้ในการรองใต้อาคารระหว่าง ตัวอาคารกับเสาของอาคาร เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอาคารสั่นสะเทือนจากแรงที่ถ่ายทอดมาจากพื้นดิน อันเนื่องมาจากการผ่านไปมาของยานพาหนะและแรงจากแผ่นดินไหว ทำให้อาคารไม่ชำรุดเสียหายและ เพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้อยู่อาศัย ยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน สามารถใช้กับอาคาร ที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปได้ ขนาดของยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาระการรับน้ำหนักของ ตัวอาคาร ยางที่เหมาะสมในการผลิตยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนคือยางธรรมชาติ ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นมีอาคารที่รองด้วยยางรองอาคารเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนมากกว่า 800 แห่ง
14. ผลิตภัณฑ์ยางขอบ
ผลิตภัณฑ์ยางขอบมีรูปร่างหน้าตัดหลายรูปแบบ และมีลักษณะยาวเป็นเส้นต่อเนื่อง มีการใช้ ยางขอบมากในงานก่อสร้างอาคาร โดยใช้เป็นซีลขอบประตู ขอบหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่น น้ำ หรือแม้แต่เสียง เข้าภายในตัวอาคาร ผลิตภัณฑ์ยางขอบสามารถผลิตได้จากทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
>>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO