ต้นต่อสำคัญสร้างฝุ่น PM2.5

ภาคอุตสาหกรรม อีกต้นต่อสำคัญสร้างฝุ่น PM2.5

      ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาระดับชาติที่ประเทศไทยเผชิญมาอย่างต่อเนื่อง และต้นกำเนิดฝุ่นที่รัฐบาลอาจพูดถึงไม่มากนัก นั่นคือ “อุตสาหกรรม” มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สะท้อนผ่านบทความ ตอนที่ 1 “ในม่านมัวของปัญหาฝุ่น PM2.5 มี อุตสาหกรรมซ่อนเร้นอยู่” พร้อมเผยข้อมูล พื้นที่ฝุ่นหนาสอดคล้องกับจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม

      ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาใหญ่ในกรุงเทพมหานครมาตลอดหลายปี หรืออาจกล่าวได้ว่า ฤดูฝุ่นเป็นอีกหนึ่งฤดูของประเทศไปแล้ว โดยเมื่อปี 2561 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑ ระบุว่า ในช่วงหลายปีหลังระดับฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยทั้งปี และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินค่ามาตรฐานในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือน ม.ค. – มี.ค. โดยผลการตรวจวัดของสถานีตรวจวัด 7 สถานีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบค่าเฉลี่ยรายปีเกินค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐานคือ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ใน 2 สถานี และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานคือ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 40-50 วันต่อปี โดยกรมความคุมมลพิษ แสดงความกังวลว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร ในฐานะศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    มูลนิธิบูรณะนิเวศ มองว่า ในประเด็นเรื่องแหล่งกำเนิดจากรายงานฉบับข้างต้น มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญ 3 ประเภท คือ 1.ไอเสียรถยนต์ดีเซล 2. การเผาชีวมวล และ 3. ฝุ่นทุติยภูมิอันเกิดจากปฏิกิริยารวมตัวกันของไอเสียรถยนต์และแอมโมเนียจากปุ๋ยที่ใช้ในเกษตรกรรม อีกทั้งรายงานการศึกษา ยังถูกใช้อ้างอิงแพร่หลาย จนอาจทำให้เข้าใจได้ว่าแหล่งกำเนิดที่เป็นปัญหาหลักคือ 3 แหล่งนี้  และท่ามกลางสถานการณ์ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทย ข้อมูลและการรับรู้จากภาครัฐเท่าที่มีอยู่ อาจไม่ได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงของการปล่อยฝุ่น PM2.5 จากภาคอุตสาหกรรม และยังไม่ได้พุ่งเป้าหมายการแก้ปัญหาอย่างจริงจังจากแหล่งกำเนิดประเภทนี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางอากาศกับอุตสาหกรรม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า อุตสาหกรรม “เป็นตัวการหนึ่ง” ของปัญหาฝุ่น PM2.5

 

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO

Visitors: 7,872