อันตรายของกรดซัลฟิวริก

อันตรายของกรดซัลฟิวริก

The dangers of sulfuric acid

อันตรายของกรดซัลฟิวริก
- ออกฤทธิ์ระคายเคือง นี่เป็นอันตรายระดับเบื้องต้น
- ตัวแปรของสารก่อมะเร็ง พิษของกรดซัลฟิวริก
- ผลต่อความผิดปกติในเม็ดเลือด
- ผลต่อระบบประสาท
- ผลต่อการพัฒนาของตัวอ่อน หากได้รับกรดซัลฟิวริกต่อร่างกายหรือเกิดเหตุฉุกเฉินควรปฐมพยาบาลอย่างไร
- นำผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเท
- หากได้รับการสัมผัสเล็กน้อยให้รีบล้างออก
- หากสัมผัสโดยการกินเข้าไป ห้ามผายปอด ควรให้ดื่มน้ำในปริมาณมาก ๆ
- พบแพทย์ทันที หากพบว่าผู้ป่วยหมดสติจากการได้รับกรดซัลฟิวริก

      สารเคมีนั้น ก่อให้เกิดอันตรายไม่มาก็น้อย ซึ่งอยู่ที่ปริมาณการใช้และความรุนแรงของสารนั้นๆ ซึ่งเราควรที่จะศึกษาการใช้งานและวัตถุประสงค์การใช้งาน ว่าใช้อย่างไร สารตัวนี้มีวัตถุประสงค์อะไร เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและปล่อยภัย โดยสารเคมีที่เราจะมาพูดกันคือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งกรดดังกล่าวทีอันตรายอย่างมาก ดังนั้นวันนี้ FactoriPro จะมานำเสนอเกี่ยวกับอันตรายของกรดซัลฟิวริก ว่าอันตรายอย่างไร?

อันตรายของกรดซัลฟิวริก
- ออกฤทธิ์ระคายเคือง นี่เป็นอันตรายระดับเบื้องต้น เมื่ออวัยวะหรือผิวได้สัมผัสกับกรดซัลฟิวริก เช่น ระคายเคืองผิวหนัง การสัมผัสหากกระเด็นเข้าดวงตา จะสร้างความเสียหายให้กับกระจกตา จนกลายเป็นแผลไหม้ถึงขั้นตาบอด เยื่อบุตาอักเสบ หรือบางรายอาจจะเป็นถึงขั้นรุนแรงขึ้นอยู่กับระบบในร่างกายของแต่ละบุคคล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันตัวเองให้ดีหากต้องเข้าใกล้หรือใช้งานกรดซัลฟิวริก
- ตัวแปรของสารก่อมะเร็ง พิษของกรดซัลฟิวริก เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการสูดดม สัมผัสกับไอของสารชนิดนี้ จะมีอัตราส่งผลเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ กล่องเสียง โพรงจมูก และปอด จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอย่างดีเยี่ยมให้กับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ใกล้กับสารตัวนี้ เพื่อไม่ให้สัมผัสละอองหรือควันไอกรด
- ผลต่อความผิดปกติในเม็ดเลือด หากได้รับกรดซัลฟิวริกผ่านการกินจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะการเป็นกรด ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติของมันก็คือการดูดน้ำ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและเม็ดเลือดไม่แข็งแรง
เกิดอาการไหม้ในร่างกายหากสัมผัสในปริมาณมาก เช่น การกินเข้าไปจะเกิดอาการไหม้ในลำคอ ผลที่ตามมา คลื่นไส้อาเจียน การไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ปัสสาวะน้อย หายใจติดขัด ไปจนถึงอาการช็อกและเสียชีวิต
- ผลต่อระบบประสาท อันตรายในข้อนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อสะสมในระยะเวลานาน ผู้ที่มีความเสี่ยงคือ ผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับกรดซัลฟิวริก ในส่วนของอาการที่แสดงคือ ร่างกายอ่อนเพลีย การตัดสินใจช้าลังเลไม่เด็ดขาด หากเป็นคนที่เด็ดขาด ว่องไวอยู่แล้ว อาจจะใช้ลักษณะการสังเกตด้วยวิธีนี้ได้
- ผลต่อการพัฒนาของตัวอ่อน มีการทดลองวิทยาศาสตร์กับหนูและกระต่ายพบว่า หากสูดดมเข้าไปในปริมาณ 20 มิลลิกรัม ระหว่างการตั้งท้องจะทำให้กระดูกของตัวอ่อนมีความผิดปกติ
เป็นส่วนผสมเสี่ยงเกิดระเบิดได้ ซึ่งแน่นอนว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมีหากเกิดเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น กรดซัลฟิวริกไม่ลุกไหม้ติดไฟ แต่จะกลายเป็นแก๊สหรือไอระเหยที่อันตรายมาก ๆ หากผสมกับโลหะ ก่อให้เกิดไฮโดรเจนและระเบิดขึ้นได้
 
      >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 7,873