กระจกเทมเปอร์คืออะไร?

กระจกนิรภัยเทมเปอร์

     กระจกนิรภัยเทมเปอร์ คือ กระจกที่ผ่านกระบวนการเสริมความแข็งแรง ด้วยการนำแผ่นกระจกธรรมดาไปเข้ากระบวนการอบที่อุณหภูมิความร้อนสูงประมาณ 650 องศาเซลเซียส แล้วทำให้เย็นตัวลงทันทีด้วยการเป่าลม เพื่อให้ได้กระจกที่มีคุณสมบัติความแข็งแรงสูง สามารถรับแรงกระทำต่าง ๆ ได้มากกว่ากระจกแบบธรรมถึง 5 เท่า รวมถึงมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดการแตก กระจกนิรภัยเทมเปอร์จะแตกออกมาเป็นลักษณะเม็ดเล็ก ๆ ซึ่งมีความคมน้อยกว่า ลดอันตรายจากการบาดเจ็บได้

คุณสมบัติ

  • มีความหนามากกว่ากระจกธรรมดาถึง 5 เท่า

สำหรับการเลือกใช้บานกระจกเพื่องานตกแต่ง โดยเฉพาะการเลือกใช้เป็นบานประตู หนึ่งในคุณสมบัติเด่นของกระจกเทมเปอร์ คือ เรื่องความหนาที่ผ่านกระบวนการอบความร้อนและทำให้เย็นลงทันที ทำให้ผิวด้านนอกกระจกแข็งเร็วกว่าเนื้อกระจกด้านใน จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกทั่วไปสูงถึง 5 เท่า

  • ความแข็งแรง ทนต่อแรงต้านต่าง ๆ

อีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษที่กระจกนิรภัย เทมเปอร์ คือสามารถทนต่อแรงดันลมในที่สูงได้ ทนแรงกระแทกและแรงกดที่เกิดจากการโจรกรรมได้ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในบ้าน จึงเหมาะสำหรับเลือกใช้เป็นทั้งบานกระจกห้องน้ำ กระจกที่ใช้กับอุปกรณ์จับยึดต่าง ๆ กระจกงานเฟอร์นิเจอร์ชั้นวางของ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น การยกของไปชน เผลอทำของหล่นใส่กระจก ก็จะช่วยลดโอกาสที่ทำให้กระจกแตกน้อยลงได้

  • ทนต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ สามารถทนต่อความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส และทนต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้สูงถึง 150 องศาเซลเซียส จึงสามารถนำไปติดตั้งเป็นผนังใกล้เตาร้อนได้อย่างกระจกผนังครัว ผนังใกล้เตา โดยไม่ต้องกังวลเรื่องกระจกแตก

  • มีความปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงเรื่องการบาดเจ็บ

หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่กระจกนิรภัยเทมเปอร์เกิดการแตกขึ้นมา กระจกจะกลายเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเมล็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่น ซึ่งมีความแหลมคมน้อยกว่ากระจกธรรมดาที่แตกเป็นปากฉลาม ทำให้ลดความเสี่ยงเรื่องการบาดเจ็บจากกระจกบาดได้

  • มีความใส ดีไซน์สวย

กระจกเทมเปอร์ได้รับการดีไซน์ด้วยการควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเที่ยงตรงสูง จึงสามารถตัดได้หลากหลายรูปแบบ มีดีไซน์สวย และมีความใสไม่ต่างจากกระจกธรรมดา ทำให้เหมาะสำหรับเป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านเป็นอย่างยิ่ง

 

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
  Line : @FACTORIPRO

Visitors: 7,873