ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
1. ตรวจเช็ค “สายไฟ-ปลั๊กไฟ ภายในบ้าน-นอกบ้าน” อยู่เสมอ
2. ลดความเสี่ยงจากอุปกรณ์ที่ชำรุด ป้องกันไฟดูด
3. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.)
4. เลือกใช้บริการช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ
5. “เปิด-ปิด” เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เคล็ดลับ ดูแลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
1. ตรวจเช็ค “สายไฟ-ปลั๊กไฟ ภายในบ้าน-นอกบ้าน” อยู่เสมอ
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องดูแลเป็นอันดับแรก โดยวิธีง่าย ๆ คือ การใช้ไขควงไฟฟ้าแตะที่ตัวโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีแสงไฟติด แสดงว่ามีไฟฟ้ารั่ว ให้หยุดใช้งานในทันที
ส่วนกลุ่มอุปกรณ์เต้ารับไฟฟ้าภายในบ้าน และสายไฟ โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่อาจมีการเสื่อมสภาพ ให้สังเกตว่า ถ้าอุปกรณ์เต้ารับมีการชำรุดเสียหายควรเปลี่ยนใหม่ และใช้ไขควงไฟฟ้าเช็คตรวจสอบกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง ส่วนสายไฟให้เช็คความเสี่ยง โดยเริ่มจากการปิดสวิตซ์ ถอดปลั๊กอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุด และให้สังเกตที่มิเตอร์ หากมีการหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่วอยู่
2. ลดความเสี่ยงจากอุปกรณ์ที่ชำรุด ป้องกันไฟดูด
หากตรวจพบว่าภายในบ้านมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด เสียหาย แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้งานไฟฟ้าที่บริเวณนั้นก่อน และรีบเรียกช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญมาซ่อมแซมทันที
นอกจากนี้การป้องกันไฟฟ้าดูด ยังสามารถทำได้ โดยการห้ามแตะสัมผัสอุปกรณ์ - เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่ว อาจถูกไฟดูดได้
3. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.)
ปัจจุบันมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.) วางขายอยู่จำนวนมาก ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้ และมีการซื้อมาใช้งานกันบ้างแล้ว ดังนั้นคุณควรต้องกลับไปเช็คความเสี่ยงจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หลอดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้านอีกครั้ง เพื่อเช็คความเสี่ยง ถ้าหากพบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.) ก็ควรจะเลิกใช้ในทันที เพื่อป้องกันอัตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน
4. เลือกใช้บริการช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ
ในกรณีที่คุณเช็คความเสี่ยง และตรวจพบว่า “บ้าน” มีความเสี่ยงจากระบบไฟฟ้ารั่ว หรือ อุปกรณ์ภายในบ้านชำรุด เสียหาย หากคุณไม่มีความเชี่ยวชาญ ควรหลีกเลี่ยงการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ แนะนำว่าเบื้องต้นคุณควรจะต้องหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้น และรีบเรียกช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญมาเปลี่ยน – ซ่อมแซมอุปกรณ์ให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยและความมั่นใจในการใช้งานต่อไปในอนาคต
5. “เปิด-ปิด” เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน
การเปิด-ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงการถอดปลั๊กไฟเมื่อไม่ได้ใช้งานแล้วจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ใช้งานได้ในระยะยาว ซึ่งนอกจากจะยืดอายุการใช้งานแล้ว ยังสามารช่วยประหยัดไฟได้ด้วย
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO