วิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรม

ไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรม

โดยแนวทางการป้องกันไฟฟ้าสถิตมีดังนี้
   1.ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติถ่ายเทประจุไฟฟ้า (ESD material)
   2.ใช้อุปกรณ์ Ionizer เพื่อพ่นประจุไฟฟ้าออกมา

     หลายคนคงรู้จักไฟฟ้าสถิตกันอยู่แล้ว วันนี้ FactoriPro จะพาไปรู้จัก ไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรม เกิดขึ้นได้อย่างไร? มีอันตรายหรือไม่? วิธีป้องกันเป็นอย่างไร? ไม่เพียงแต่พนักงานและผู้ปฏิบัติงานที่ควรทราบเท่านั้น คนทั่วไปก็สามารถอ่านบทความนี้ได้ เพราะไฟฟ้าสถิตเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับทุกคน

ไฟฟ้าสถิต เกิดจากอะไร?     

     โดยทั่วไปวัสดุทุกชนิดมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า คือ มีปริมาณของประจุบวกและประจุลบอย่างละเท่า ๆ กัน แต่หากวัสดุมีการขัดถู สัมผัส หรือเสียดสีซึ่งกันและกัน จะทำให้ประจุไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า (วัสดุไม่นำไฟฟ้า) เช่น การนำลูกโป่งมาถูกับเส้นผม การสัมผัสระหว่างรองเท้าหนังและพรมเช็ดเท้า สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าทำให้วัสดุเกิดความไม่สมดุล จึงมีความพยายามถ่ายเทประจุไฟฟ้ากับวัสดุอื่นๆ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับตัวเอง และการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้านี้เองที่เป็นสาเหตุของความรู้สึกที่คล้ายกับการถูกไฟฟ้าช็อตหรือที่เรียกว่า “ไฟฟ้าสถิต”

ไฟฟ้าสถิตอันตรายไหม?

     ระดับความอันตรายของไฟฟ้าสถิตมีตั้งแต่ถูกช็อตเล็กน้อยไปจนถึงอันตรายระดับรุนแรง หากเป็นไฟฟ้าสถิตระดับต่ำที่พบได้ทั่วไป เช่น รู้สึกเหมือนไฟช็อตเบา ๆ เวลาจับประตูในร้านสะดวกซื้อ หรือผมชี้ฟูเมื่อสัมผัสวัตถุ หากเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้จะไม่อันตราย แต่หากไฟฟ้าสถิตที่มีระดับสูงขึ้น เช่น เกิดกับเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในโรงงานหรือสถานที่ทำงานก็มีโอกาสเกิดไฟไหม้หรือระเบิดได้ นอกจากนี้การเกิดไฟฟ้าสถิตยังสามารถส่งผลกระทบทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องจักรเกิดการชำรุดได้ 

กรณีเกิดไฟฟ้าสถิตในที่ทำงาน

   1. การทำกราวด์ (Grounding) ถ่ายเทประจุไฟฟ้าให้มีศักดิ์เป็น 0 เท่ากับพื้นดิน หรือ จำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตให้ไหลผ่านลงดิน เพื่อไม่ให้ประจุไฟฟ้าสถิตเกิดการสะสม

   2. การเชื่อมต่อฝาก (Bonding)ใช้สายไฟหรือตัวนำไฟฟ้าอื่นสำหรับเชื่อมต่อวัสดุ เพื่อให้ประจุไฟฟ้าสถิตเคลื่อนที่สะดวก อาจจะใช้บัสบาร์ที่เป็นทองแดง อะลูมิเนียมเปลือย หรือสายตัวนำหุ้มฉนวน

   3. การควบคุมความชื้น (Humidity) ควบคุมความชื้นในโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ที่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ (ไม่ควรต่ำกว่า 30%) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นอากาศมากเกินไป โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรกระดาษและสิ่งทอ

   4. การทำไออนไนเซชั่น (Ionizer) เป็นการสร้างทางเดินให้กับประจุลบ (อิเล็กตรอน) ที่อยู่ในอากาศ ให้สามารถถ่ายเทลงกราวด์ได้ จำเป็นมากในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตแรงดันสูง

   5. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ทนต่อไฟฟ้าสถิตเท่าที่เป็นไปได้

   6. สลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น
      - วิธีต่อสายดิน เพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าลงดิน ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิตและไฟรั่ว ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการตัดไฟอัตโนมัติหากเกิดอันตรายจากไฟลัดวงจร
      - ใช้เครื่องกำจัดไฟฟ้าสถิต ให้เลือกเครื่องทำลายไฟฟ้าสถิตที่มีค่า Ion Balance ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีระยะการกระจายประจุในวงกว้าง รวมถึงความรวดเร็วในการทำลายไฟฟ้าสถิต

   7. สวมอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต วิธีนี้เป็นการป้องกันไฟฟ้าสถิตให้กับตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า สายรัดข้อมือ หรือชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีโอกาสเกิดไฟฟ้าสถิตสูง เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินในโรงงาน 

แนวทางป้องกันไฟฟ้าสถิตในงานอุตสาหกรรม

1.ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติถ่ายเทประจุไฟฟ้า (ESD material)
     ESD material (Electrostatic discharge) เป็นวัสดุที่คล้ายกับพลาสติก แต่มีคุณสมบัติถ่ายเทประจุไฟฟ้าได้ เพื่อไม่ให้มีประจุสะสมที่พื้นผิวจุดใดจุดนึงมากเกินไป โดยอาจขึ้นรูปเป็นภาชนะ, อุปกรณ์สำหรับใช้งานโดยตรง หรือ เป็นแผ่นที่ให้สัมผัสเพื่อถ่ายเทประจุก็ได้ ตัวอย่างเช่น ชุดและถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิต, สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต
 
2.ใช้อุปกรณ์ Ionizer เพื่อพ่นประจุไฟฟ้าออกมา
     เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นพัดลมหรือเครื่องพ่นลม ทำหน้าที่พ่นลมที่มีประจุไฟฟ้า ทั้งประจุบวก และ ประจุลบ ออกมาและจะถูกดึงดูดจากบริเวณที่มีขั้วตรงข้าม เช่น ละอองประจุบวกก็จะถูกดึงดูดด้วยพื้นผิวที่มีประจุลบมากกว่า ในขณะที่ละอองประจุลบก็จะถูกดึงดูดด้วย พื้นผิวที่มีประจุบวกมากกว่า
 
      สาเหตุที่ละอองฝุ่นไปเกาะชิ้นงาน ไม่ได้เกิดจากไฟฟ้าสถิตบริเวณผิวชิ้นงานเท่านั้น แต่ก็มีกรณีที่เกิดจากละอองฝุ่นที่มีไฟฟ้าสถิตเช่นกัน จึงทำให้นอกจากจะลดไฟฟ้าสถิตจากผิวชิ้นงานหรืออุปกรณ์ได้แล้ว ก็ยังลดไฟฟ้าสถิตจากฝุ่นละอองในอากาศได้เช่น

     >>> แม้ว่าไฟฟ้าสถิตโดยทั่วไปอาจจะไม่มีความรุนแรงแต่ถ้าหากเกิดกับเครื่องจักรอุปกรณืวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรม ก็มีความเสี่ยงจะทำให้เกิดประกายไฟ ไฟไหม้ ทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เสียหายได้ ดังนั้นบทความนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงเรื่องไฟฟ้าสถิต และทราบถึงวิธีป้องกัน เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน และ ทรัพย์สินอีกด้วย <<<


เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
  Line : @FACTORIPRO

Visitors: 7,873