ไฟฟ้าสถิตป้องกันได้ ลดการสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้
Tags: ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตป้องกันได้ ลดการสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้
วิธีควบคุมและป้องกันไฟฟ้าสถิต
1.การทำกราวด์และการเชื่อมต่อฝาก
2.การควบคุมความชื้น
3.การทำไออนไนเซชั่น (Ionizer)
4.การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิตป้องกันได้ ลดการสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้
ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าในอะตอมของวัตถุ โดยปกติสสารจะมีอะตอม ซึ่งในอะตอมจะมีประจุบวก (นิวตรอน) ประจุลบ (อิเล็กตรอน) และประจุที่เป็นกลาง (โปรตอน) เมื่อวัตถุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามีการเสียดสีกัน มีการสัมผัสกันของวัตถุ รวมถึงการเหนี่ยวนำ จะทำให้ประจุลบ (อิเล็กตรอน) ในวัตถุนั้นถ่ายเทจากวัตถุ A ไปอยู่ที่วัตถุ B เรียกว่าการถ่ายเทของประจุไฟฟ้า หรือ Electrostatic Discharge (ESD)
วิธีควบคุมและป้องกันไฟฟ้าสถิต
1.การทำกราวด์และการเชื่อมต่อฝาก
การทำกราวด์ (Grounding) คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าให้มีศักดิ์เป็น 0 เท่ากับพื้นดิน หรืออธิบายให้เข้าใจมากขึ้น คือการจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่การทำงาน ให้ไหลผ่านลงดินเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมประจุไฟฟ้าสถิต
2.การควบคุมความชื้น
ความชื้นในอากาศเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งนำไปสู่การเกิด Discharge เมื่อค่าความชื้นในอากาศต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ (อากาศแห้ง) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ หรือสิ่งทอ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการควบคุมความชื้นในโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ที่ 60-70 เปอร์เซ็นต์
3.การทำไออนไนเซชั่น (Ionizer)
การทำไอออนไนเซชั่น คือการสร้างทางเดินให้กับประจุลบหรืออิเล็กตรอนที่เกิดขึ้น และสะสมประจุอยู่ในอากาศ ให้สามารถถ่ายเทลงกราวด์ได้ เพื่อไม่ให้เกิดการ Discharge นิยมใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดไฟฟ้าสถิตแรงดันสูง
4.การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต
การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นทางโรงงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงาน ทั้งหมวก รองเท้า ถุงมือ ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต และสายรัดข้อมือ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินในธุรกิจ
จบกันไปแล้วสำหรับบทความที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งหน้าเราจะนำเสนอเรื่องใด อย่าลืมติดตามกันไว้นะครับ
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO