ความปลอดภัยในการทำงาน กับแขนหุ่นยนต์

ความปลอดภัยในการทำงาน กับแขนหุ่นยนต์

Safety in working with robotic arms

ความปลอดภัยในการทำงาน กับแขนหุ่นยนต์

- ให้ความสำคัญของระบบความปลอดภัยของเครื่องจักร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การติดตั้ง การใช้งานและการซ่อมบำรุง ตามระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change : MOC

- จัดให้มีคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรระบบอัตโนมัติประเภทหุ่นยนต์ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

- จัดให้มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามคู่มือและขั้นตอนดังกล่าว รวมทั้งระบบการสั่งการและควบคุมหุ่นยนต์ จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งการปฎิบัติงานของหุ่นยนต์ในภาวะปกติและผิดปกติ

- กำหนดขอบเขต พื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย เช่น รัศมีการทำงานของหุ่นยนต์ ระยะห่างของผู้ปฏิบัติงานกับหุ่นยนต์ เส้นทางลำเลียงวัสดุ และทางเดินที่ปลอดภัย เป็นต้น

- มีการติดป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย รวมทั้งการทาสีตีเส้นในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนเพื่อสือสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งคลัด

- ตรวจสอบระบบการควบคุมและระบบการสั่งการหุ่นยนต์ตามกำหนดเวลา ไม่ว่าการสั่งการโดยบุคคล (Manual Mode) ระบบสั่งการแบบอัตโนมัติ (Automatic Mode) และระบบสั่งการแบบกิ่งอัตโนมัติ (Semiautomatic /Manual Intervention Mode) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

- ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหุ่นยนต์ เช่น ความเร็วในการทำงานของหุ่นยนต์ ทิศทางการทำงาน รัศมีการทำงาน ส่วนที่มีการเคลื่อนไหว และระบบสั่งการ ก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์ทำงานได้ตามปกติ และมีความปลอดภัย

- ตรวจสอบระบบการตัดพลังงานต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันอันตราย (Safe Guards and Protective devices) เช่น ราวกั้น ฉากกั้น และระบบหยุดฉุกเฉิม(Emergency stop system) เป็นระยะๆ หรือตามที่กำหนดช่วงเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภับระบบหยุดฉุกเฉิน และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

- มีการทวนสอบระบบการทำงานของหุ่นยนต์และระบบความปลอดภัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตามแผนงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เป็นระยะๆ หรือตามกำหนดช่วงเวลาที่ระบุในคู่มือ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบต่างๆ ทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้

- กรณีหุ่นยนต์ทำงานผิดปกติต้องหยุดทำงานทันทีและรายงานให้ผู้รับผิดชอบทราบ เพื่อทำการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง หรือปรับแต่งการทำงานของหุ่นยนต์ ทั้งนี้ต้องมีการปิดป้ายเตือน/ระบบล็อค (lock out/ tag out)

     >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com

 

 

 

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO

ไลน์ Line FactoriPro

Visitors: 7,873