การป้องกันอันตรายจากรังสี
การป้องกันอันตรายจากรังสี
การป้องกันอันตรายจากรังสี มีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้
1. กรณีต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก (Sealed source)
- 1.1) เวลาใช้เวลาปฏิบัติงานในบริเวณที่มีรังสีให้น้อยที่สุด
- 1.2) ระยะทางพยายามอยู่ให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด
- 1.3) เครื่องกำบังรังสี กรณีที่ต้นกำเนิดรังสีแผ่รังสีในปริมาณสูง ต้องทำให้ระดับรังสีที่สูงนั้นลดน้อยลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2. กรณีต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก (Unsealed source) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการหยิบจับ และต้องระวังไม่ให้สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางจมูก ทางปาก และการสัมผัสกับผิวหนัง ปกติการทำงานกับต้นกำเนิดรังสีแบบนี้ จะทำในตู้ควันที่มีระบบการระบายอากาศผ่านแผ่นกรอง กักสารกัมมันตรังสีอย่างดี
รังสีนั้นมีความเป็นอันตรายสูงมาก แค่เราก็สามารถนำประโยชน์จากรังสีมาใช้ได้ หลายอย่างมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้งาน ป้องกันรังสีที่อันตรายต่อมนุษย์ แนวทางง่ายๆ คือ ต้องหาวิธีการที่จะทำให้ได้รับรังสีน้อยที่สุด โดยงานที่ต้องใช้ประโยชน์จากรังสีนั้น ไม่เสียหาย ถึงแม้ว่าระดับรังสีที่มีอยู่จะยอมรับได้ว่าปลอดภัย แต่นั่นเป็นขีดจำกัดที่กำหนดไว้ วันนี้เรามีข้อปฏิบัติเบื้องต้น มีดังนี้
ข้อปฏิบัติเบื้องต้น
1. กรณีต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก (Sealed source)
ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก หมายถึง สารกัมมันตรังสีถูกบรรจุอยู่ในภาชนะโลหะที่ห่อหุ้มปิดมิดชิด สารกัมมันตรังสีไม่สามารถเล็ดลอดออกมาข้างนอกได้ ที่ออกมาได้มีแต่รังสีที่แผ่ออกมาเท่านั้น การทำงานกับต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึกที่จะทำให้ตนเองได้รับรังสีน้อยนั้น มีหลักปฏิบัติง่ายๆ 3 ข้อ คือ
- 1.1) เวลา
- 1.1) เวลา
ใช้เวลาปฏิบัติงานในบริเวณที่มีรังสีให้น้อยที่สุด หรือถ้าจำเป็นต้องอยู่นานจะต้องคำนวณระยะเวลาว่าอยู่ได้นานที่สุดเท่าไร จึงจะรับรังสีไม่เกินระดับที่ยอมรับได้โดยปลอดภัย ปกติในบริเวณที่มีรังสีจะมีป้ายบอกระดับรังสี และถ้าระดับรังสีค่อนข้างสูง จะมีการบอกถึงระยะเวลาที่สามารถอยู่ได้ในบริเวณนั้นด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการทักทายพูดคุยที่ไม่จำเป็นในบริเวณที่มีรังสี
- 1.2) ระยะทาง
พยายามอยู่ให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด เพราะระดับรังสีจะลดลง ๔ เท่า เมื่อระยะทางห่างออกไป ๑ เท่า หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต้นกำเนิดรังสี อย่าใช้มือจับ เพราะจะได้รับรังสีที่มือปริมาณสูงมาก ควรใช้ปากคีบหรือใช้คีมจับ ที่มีด้ามยาวๆ และต้องถือให้ต้นกำเนิดรังสีห่างจากตัวมากที่สุด
- 1.3) เครื่องกำบังรังสี
กรณีที่ต้นกำเนิดรังสีแผ่รังสีในปริมาณสูง ต้องทำให้ระดับรังสีที่สูงนั้นลดน้อยลงจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งสามารถทำได้ โดยการใช้เครื่องกำบังรังสีวางกั้น หรือวางล้อมรอบไว้ระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับตัวเรา วัสดุที่ใช้กั้นรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์ นิยมใช้ตะกั่วหรือคอนกรีต ส่วนรังสีนิวตรอนจะใช้น้ำหรือพาราฟิน สำหรับรังสีแอลฟาและรังสีบีตาไม่ค่อยมีปัญหา เพราะรังสีแอลฟา ใช้เพียงกระดาษหนาเล็กน้อยก็กั้นได้ ส่วนรังสีบีตาใช้แผ่นอะลูมิเนียมที่ไม่หนามากนัก
2. กรณีต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก (Unsealed source)
ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก หมายถึง สารกัมมันตรังสีที่ไม่ได้มีการบรรจุหรือห่อหุ้มปิดผนึกมิดชิดถาวร ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึกอาจเกิดการแพร่กระจาย ฟุ้งกระจาย หกเปรอะเปื้อน หรือรั่วซึมออกจากภาชนะที่บรรจุได้
ในการทำงานกับต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึกนี้ นอกจากต้องใช้หลักการ 3 ข้อ คือ เวลา ระยะทาง และเครื่องกำบังรังสีแล้ว ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการหยิบจับ และต้องระวังไม่ให้สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางจมูก ทางปาก และการสัมผัสกับผิวหนัง ปกติการทำงานกับต้นกำเนิดรังสีแบบนี้ จะทำในตู้ควันที่มีระบบการระบายอากาศผ่านแผ่นกรอง กักสารกัมมันตรังสีอย่างดี การทำงานกับต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึกจะยุ่งยากมากกว่าต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เพราะต้องมีความรู้ในด้านการขจัดสิ่งเปรอะเปื้อนสารกัมมันตรังสี ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุสารกัมมันตรังสีหกรดพื้น เปื้อนอุปกรณ์ เครื่องมือ และตัวเอง
>> ในการป้องกันอันตรายจากรังสีสิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทราบก่อนให้ได้ คือ บริเวณที่ปฏิบัติงานมีระดับปริมาณรังสี มากหรือน้อยเท่าไร ตัวผู้ปฏิบัติงานจะได้รับปริมาณรังสีเท่าไร และถ้าเป็นการปฏิบัติงานกับต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก ก็ต้องทราบว่า อากาศในบริเวณที่ทำงานมีสารกัมมันตรังสีฟุ้งกระจายปนอยู่เท่าไร <<
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO