หลักการการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ IoT

หลักการการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ IoT

Principles of communication between IoT devices

หลักการการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ IoT (Internet of Things)
1.ระบบเครือข่ายภายใน LAN (ใช้สาย) / WLAN (ไร้สาย) (ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต)
2.บอร์ด IoT หรือบอร์ดสมองกลฝังตัวที่มีความสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้
3.MQTT Broker (MQTT เป็นมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็ก
4.สมาร์ทโฟน/ iPad / คอมพิวเตอร์

      ในปัจจุบันการสื่อสารเป็นที่สิ่งมนุษย์เราขาดไม่ได้เลย ซึ่งการสื่อสารนั้นก็มีตัวกลางที่ทำให้เราได้สื่อสารกันทั่วโลก โดยตัวกลางที่ว่านั้นคืออุปกรณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นวันนี้ FactoriPro จะมานำเสนอ หลักการการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ LoT ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1.ระบบเครือข่ายภายใน LAN (ใช้สาย) / WLAN (ไร้สาย) (ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต)

     เครือข่ายภายในนั้นหากเป็นเครือข่ายไร้สายควรติดตั้ง Access Point ให้ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งที่เครื่องจักรนั้นๆด้วย ซึ่งการมีเครือข่ายที่ครอบคลุมภายในโรงงานจะเป็นหัวใจของเทคโนโลยี IoT คือมีการเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ถ่ายทอดข้อมูลแลกเปลี่ยนและสั่งการผ่านเครือข่ายนั่นเอง
 

2.บอร์ด IoT หรือบอร์ดสมองกลฝังตัวที่มีความสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้

      บอร์ด IoT นั้นคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณหรือแปลงค่าจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ กรณีที่อุปกรณ์เครื่องจักรนั้นไม่มีสัญญาณไฟฟ้าเพื่อทำงาน Coupling สัญญาณ เราก็อาจจะเพิ่มวงจร Sensor ติดตั้งกับบอร์ด IoT เช่น กรณีมอเตอร์ที่ไม่มีสัญญาณของ Thermal Sensor เราก็ต้องมี Thermal IC ติดตั้งกับบอร์ด IoT แล้วประกบติดกับตัวมอเตอร์นั้นๆ หรืออีกกรณีที่ต้องการวัดค่ากระแสก็ต้องมี Current Transformer มาใช้กับบอร์ด IoT และ Coupling กับ Line ของอุปกรณ์นั้นๆ และเขียนโปรแกรมเทียบแปลงค่ากระแสที่ผ่านขดลวด Current Transformer และอีกกรณีหากต้องการจะมีการสั่งการให้ ปิด-เปิด วงจรเช่น Magnetic Circuit หรือส่งสัญญาณสั่งการสู่ PLC ก็สามารถติดตั้งบอร์ด IoT ใกล้กับวงจร Magnetic Circuit หรือ PLC Input ได้เช่นกัน หรือจะพัฒนาเป็นบอร์ด IoT แจ้งเตือนภัยอิสระจะส่งเป็นสัญญาณเสียง ไฟฉุกเฉิน บอร์ดข้อความ หรือแม้แต่เสียงประกาศอัตโนมัติก็สามารถพัฒนาได้
สำหรับบอร์ด IoT นี้ก็มีความจำเป็นที่ต้องมีการเขียนโปรแกรมเพื่อแปลงค่าและส่งรับข้อมูลไปมากับ MQTT Broker โดยสามารถใช้ภาษา C หรือ Python ในการพัฒนาโปรแกรมควบคุมลงในบอร์ด IoT ซึ่งหากเข้าใจในหลักการก็จะสามารถเขียนโปรแกรมบอร์ด IoT ได้ภายในเวลาอันสั้นและบอร์ดแต่ละตัวจะทำงานกันอิสระ พัฒนาบอร์ดหนึ่งเสร็จก็นำไปติดตั้งและใช้งานได้ทันทีและค่อยๆเพิ่มจำนวนบอร์ดขึ้นเป็นกรณีๆไป
 

3.MQTT Broker (MQTT เป็นมาตรฐานการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็ก

      MQTT Broker เรียกง่ายๆว่าเป็น Server เพื่อรับส่งข้อมูลจาก IoT บอร์ดและมือถือหรือคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก สามารถโหลดและติดตั้งได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย เราสามารถติดตั้ง MQTT Broker นี้ได้บนบอร์ดสมองกลฝังตัวเช่น Raspberry Piหรือ PC ที่มีสเปคธรรมดาก็สามารถทำงานได้เช่นกัน โดย MQTT Broker จะทำหน้าที่เป็น “นายหน้าข่าว” รับส่งข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์ IoT ในลักษณะ Subscribe / Publish หัวข่อข่าว โดยบอร์ด IoT ไม่จำเป็นต้องรู้จักผู้รับสารหรือผู้ส่งสาร
 

4.สมาร์ทโฟน/ iPad / คอมพิวเตอร์

      สำหรับผู้ใช้งานเพื่อดูสถานะของ Sensor หรือภาวะของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับบอร์ด IoT หรือจะสั่งการเช่น ปิด-เปิด ลดความเร็ว ปรับอุณหภูมิ หรืออื่นๆ ก็สามารถใช้มือถือสมาร์ทโฟน iPad ลงแอพพลิเคชั่น MQTT Panel (มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย) มีให้เลือกหลายผลิตภัณฑ์ หรือใช้คอมพิวเตอร์
 
      >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 17,710