ข้อควรระวังเมื่อใช้สเปรย์ Contact Cleaner
Tags: contact cleaner
ข้อควรระวังเมื่อใช้สเปรย์ Contact Cleaner
ข้อควรระวังเมื่อใช้สเปรย์ Contact Cleaner
- สเปรย์ Contact Cleaner แต่จัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
- หากสัมผัสผิวหนังอาจเกิดอาการระคายเคืองโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย
- จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต สารพิษตกค้างอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาวในสภาพแวดล้อมทางน้ำ
ข้อควรระวังเมื่อใช้สเปรย์ Contact Cleaner
ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายทั่วโลกคิดค้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิวออกมาจำหน่ายในท้องตลาดหลายยี่ห้อ หลายสูตร น้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและในครัวเรือนทั่วไป แต่จัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย โดยเฉพาะสารระเหยของกรดเคมีไม่ปลอดภัย หากมนุษย์หรือสัตว์สูดดมเข้าไปทำให้แน่นหน้าอกหายใจลำบากหรือรุนแรงถึงขั้นทำลายระบบทางเดินหายใจ หากสัมผัสผิวหนังอาจเกิดอาการระคายเคืองโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้ที่แพ้สารเคมีง่าย
สารเคมีที่ใช้ปัจจุบันมีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้ สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสารเคมีที่เป็นส่วนผสมอันตรายส่งผลเสียโดยตรงต่อพืชจากไอระเหยในอากาศ หากหกรั่วไหลลงไปในดินทั้งโดยจงใจหรือบังเอิญ จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต สารพิษตกค้างอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาวในสภาพแวดล้อมทางน้ำ เพราะมีฤทธิ์ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย เกิดมลพิษในระบบน้ำและอากาศ เนื่องจากมีผู้นิยมใช้งานจำนวนมากไอระเหยของเคมีทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเร็วขึ้นอีกด้วย ดังนั้นบรรดาสายการผลิตของโรงงานที่ได้มาตรฐานล้วนมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายให้มีพิษน้อยที่สุดเท่าเป็นไปได้เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมหรือความปลอดภัยด้านอื่น ๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงไปใช้สารเคมีที่ใกล้เคียงกันซึ่งมีผลกระทบน้อยกว่า
การจัดเก็บคอนแทคคลีนเนอร์
นอกเหนือจากขั้นตอนการผลิตที่มีสารเคมีหลายประเภทที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษแล้ว เป็นที่ทราบกันว่ามีสารเคมีหลายชนิดเป็นส่วนผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ประเภท Contact Cleaner จึงต้องป้องกันสารเคมีอื่น ๆ จะทำปฏิกิริยากันให้เกิดอันตรายขึ้น โดยมีการจัดเก็บสารเคมีในสายการผลิตอย่างถูกวิธีรวมทั้งจัดสารเคมีที่ดับเพลิงสำหรับแต่ละชนิดไว้เพื่อความสะดวกในการดับเพลิงที่เกิดจากสารเคมีแต่ละตัวในขณะเกิดไฟไหม้ช่วยชะลอการลุกลามของไฟ
สถานที่เก็บสารเคมีควรเป็นสถานที่ปิดมิดชิด ฝาผนังควรทำด้วยสารทนไฟและปิดล็อคได้ ส่วนสถานที่เก็บหรือผลิตสารเคมีควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศดี แสงแดดส่องไม่ถึง ภาชนะที่ใส่ทนทานต่อความดัน การสึกกร่อนและแรงกระแทก มีการจัดเรียงอย่างมีระบบ การรักษาความสะอาดและหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญของระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน
จบกันไปแล้วสำหรับบทความที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งหน้าเราจะนำเสนอเรื่องใด อย่าลืมติดตามกันไว้นะครับ
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO