ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลินอยด์
ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลินอยด์
ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลินอยด์
1.ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆของโซลินอยด์วาล์วให้ละเอียด
2.ทำความสะอาด ฝุ่น, สนิม ตะกอน
3.ติดตัวกรอง (Y-Strainer)
4.ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าสูง หรือต่ำควรใช้ตัวควบคุมกำลังไฟ
5.ห้ามใช้โซลินอยด์วาล์วในระบบที่ของไหลมีความร้อนสูงกว่าที่กำหนด
6.ไม่ควรใช้งานโซลินอยด์วาล์ว ทำงานเปิด-ปิด แบบถี่ๆอย่างต่อเนื่อง
โซลินอยด์ ใช้กับสารที่เป็นของเหลวได้ดี และก๊าซได้ดี ซึ่งเหมาะกับระบบทำความร้อน ระบบชลประทาน ระบบล้างจานและซักผ้า ระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งในการใช้งานด้านยา ทันตกรรม การทำความสะอาดในอุตสาหกรรม และถังเก็บน้ำ ในการติดตั้งโซลินนอยด์ มีข้อควรระวังหลายประการ หากมีข้อผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักร และระบบต่างๆ ในการทำงาน
โดยหลักการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid valve) โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ วาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมปริมาตรของของไหลที่ไหลผ่านท่อ โดยการเปิดหรือปิดที่รู orifices ของตัววาล์ว การทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 2/2 โดยทั่วไปมีการควบคุมให้เปิดปิดได้ด้วย 3 ระบบ คือระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct acting) ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Pilot control) และระบบลูกผสม (Combined Operation)
1. ระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct acting) โซลินอยด์วาล์ว 2 ทาง ที่มีระบบการทำงานแบบเปิดปิดโดยตรงนั้น มีทางเข้าหนึ่งทางและทางออกหนึ่งทาง ทุ่น (plunger) ซึ่งมีซีลอยู่ปลายด้านล่างทำหน้าที่เปิดและปิดรูทางผ่าน (orifice) ของของไหลเมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าหรือหยุดจ่ายไฟที่คอยล์ของวาล์ว
2.ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Pilot control) ระบบการทำงาน วาล์วเปิด-ปิดโดยอาศัยหลักการความต่างของความดัน กล่าวคือ มีการจ่ายไฟเข้าคอยล์เพื่อให้ Plunger ยก Pilot Seal ขึ้นทำให้ของเหลวที่อยู่ด้านบนของแผ่นไดอะแฟรมไหลผ่านซึ่งจะทำให้ความดันด้านบนแผ่นไดอะแฟรมลดลงต่ำกว่าความดันของของไหลที่ไหลเข้ามา จึงทำให้แผ่นไดอะแฟรมยกขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดการเปิดของวาล์ว
ข้อควรระวังในการติดตั้งโซลินอยด์
1.ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆของโซลินอยด์วาล์วให้ละเอียดดังต่อไปนี้
- ชนิดของของเหลว หรือตัวกลางที่ไหลผ่านวาล์ว
- อุณหภูมิของของเหลวหรือตัวกลางที่ไหลผ่านวาล์ว
- แรงดันไฟฟ้าที่ใช้
- วัสดุและชิ้นส่วนต่างๆของวาล์ว เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่
2.ทำความสะอาด ฝุ่น,สนิม ตะกอนที่เกิดจากการเชื่อมในท่อด้วยน้ำยาเคมี หรือของเหลวที่มี ความดันสูง
3.ติดตัวกรอง (Y-Strainer) ก่อนเข้าตัววาล์วและติดตั้งเกทวาล์วบายพาสไว้ เพื่อความสะอาด ในการซ่อมบำรุง และการดูแลรักษา
4.ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าสูง หรือต่ำควรใช้ตัวควบคุมกำลังไฟ
5.ห้ามใช้โซลินอยด์วาล์วในระบบที่ของไหลมีความร้อนสูงกว่าที่กำหนดหรือมี การเย็นตัวลง จนกลายเป็นของแข็ง หรือมีส่วนที่ไม่ละลาย
6.ไม่ควรใช้งานโซลินอยด์วาล์ว ทำงานเปิด-ปิด แบบถี่ๆอย่างต่อเนื่อง เพราะจะทำให้เกิดความ เสียหายได้ง่าย
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO