การวัดความหนืดในอุตสาหกรรมอาหาร

การวัดความหนืดในอุตสาหกรรมอาหาร

เครื่องวัดความหนืดของของเหลวมีทั้งหมด 4 ประเภท

- เครื่องวัดความหนืดแบบโรตารี่ (Rotary Viscosity Meter)

- เครื่องวัดความหนืดแบบถ้วยจับเวลา (Ford Cup)

- เครื่องวัดความหนืดแบบรางจับเวลา (Bostwick Consistometer)

- เครื่องวัดความหนืดแบบอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Viscosity Meter)

     หลายคนอาจจะไม่ได้สนใจความหนืดของอาหารที่เรากิน แต่ความหนืดนั้นสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการผลิตอาหารชนิดนั้น ว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำ การวัดความหนืดในอุตสาหกรรมอาหาร ว่ามีการวัดอย่างไร

     ค่าความหนืด (Viscosity)
คือค่าที่บ่งบอกถึงความต้านทานในการไหลของของไหล (Fluid) ยิ่งมีค่าความหนืดต่ำมากเท่าไหร่ ยิ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปมากเท่านั้น หน่วยของค่าความหนืดในระบบ SI เป็นนิวตันวินาทีต่อตารางเมตร (N.s/m2) หรือปาสคาลวินาที (Pa.s)
 
      การวัดค่าความหนืดในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้บริโภคจะรับรู้ความหนืดของอาหารได้ทางประสาทสัมผัสระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น การเท การตัก การกวน การปาด อาหารที่มีความหนืดผิดปกติ เช่น ซอสที่เหลวผิดปกติ หรือมีการแยกชั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภค ความหนืดจึงถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหาร ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจจึงต้องมีการควบคุมคุณภาพด้วยการควบคุมค่าความหนืดให้อยู่ในมาตรฐานอยู่สม่ำเสมอ
 
      อุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความหนืด เพื่อนำค่าความหนืดนั้นมาใช้ในการออกแบบกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามมาตรฐาน เช่น ในอุตสาหกรรมซอสมะเขือเทศ ใช้ค่าความหนืดเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกขนาดของเครื่องจักร ขนาดท่อ ใบกวน เพื่อให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิต รวมถึงการกำหนดเวลาและอุณหภูมิในการผลิต เป็นต้น และนอกจากนั้นค่าความหนืดยังใช้ในการกำหนดมาตรฐานการขนส่ง หรือการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ก่อนถึงผู้บริโภคอีกด้วย การวัดค่าความหนืดจึงเป็นการลดต้นทุนในการผลิตได้อีกทางหนึ่ง
เครื่องวัดความหนืดของของเหลวมีหลายประเภท
- เครื่องวัดความหนืดแบบโรตารี่ (Rotary Viscosity Meter)
- เครื่องวัดความหนืดแบบถ้วยจับเวลา (Ford Cup)
- เครื่องวัดความหนืดแบบรางจับเวลา (Bostwick Consistometer)
- เครื่องวัดความหนืดแบบอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Viscosity Meter)
 
 >>> เครื่องวัดความหนืดแบบโรตารี่ เป็นแบบที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมมากที่สุด เนื่องจากการใช้งานง่าย สามารถแสดงผลเป็นตัวเลขได้เลย <<<
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
  Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 17,710