การพัฒนาที่ดินนิคมอุตสาหกรรมในประเทศ
การพัฒนาที่ดินนิคมอุตสาหกรรม
เพิ่มมูลค่าการลงทุนในประเทศได้อย่างไร
แม้ว่าช่วงโควิดระบาด สถานการณ์การลงทุนได้ถดถอยลงไป ธุรกิจ ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นยอดขายที่ดิน ยอดการโอน การเช่าโรงงานมีตัวเลขลดลง แต่ปัจจุบันทุกอย่างกำลังฟื้นฟูขึ้น เพราะนอกจากโควิดจะห่างหายไปแล้วยังมีปัจจัยรายรอบที่ช่วยดึงนักลงทุนให้เริ่มทยอยกลับมาอีกครั้ง จึงคาดการณ์ได้ว่าภาพรวมของการพัฒนา ที่ดินนิคม หลังจากนี้จะดีกว่าเดิม ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในประเทศ
พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงและเป็นแหล่งรวมของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อยู่หลายแห่ง ด้วยความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งโครงสร้างที่เอื้อต่อระบบโลจิสติกส์ ทำเลที่ตั้ง การสนับสนุนของภาครัฐ ทำให้มีนักลงทุนสนใจเข้ามาซื้อ-เช่าที่ดิน เช่าโรงงานเพื่อขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2566 และได้มีการคาดการณ์ธุรกิจนิคมฯ ในปีนี้และปี 2568 ว่ายังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวตราบเท่าที่ภาวะเศรษฐกิจยังเอื้อต่อ คาดว่าตัวเลขของการเช่าและขายที่ดินจะขยายตัวประมาณ 18.0-20.0% ต่อปี (ศูนย์วิจัยกรุงศรี)
นิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก
เป็นภาคที่มีการพัฒนาพื้นที่เหมาะสมกับการลงทุนและถูกจับตามองมากที่สุด เป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ใน จ.ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูง อาทิ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ฯลฯ สำหรับแนวทางในการพัฒนา ที่ดินนิคม ภาคตะวันออกเป็นที่ดึงดูดใจนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิคมที่ตั้งอยู่ในเขต EEC ได้รับการตอบรับที่ดี ด้วยความครอบคลุมในด้านต่าง ๆ คือ
- โครงข่ายคมนาคมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูง สนามบิน ทางหลวงพิเศษ รถไฟทางคู่ ท่าเรือเพราะพื้นที่นี้จัดว่าเป็นเป้าหมายหลักในแผนพัฒนาของประเทศไทยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของเราได้รับการอัปเกรดสูงขึ้นไม่แพ้ต่างประเทศ
- การลงทุนในเขต EEC มีสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พร้อมสิทธิประโยชน์เพิ่มจากกระทรวงการคลัง
- การวางระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ
ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมในภาคอื่น ๆ ของประเทศ
นอกจากภาคตะวันออกแล้ว พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพในระดับรองลงมาคือภาคกลาง และสวนอุตสาหกรรมในภาคกลาง จัดว่ามีศักยภาพรองจากตะวันออก จุดได้เปรียบอยู่ที่ความเป็นศูนย์กลางทั้งการผลิต การเป็นคลังสินค้าและความสะดวกของการคมนาคมขนส่ง ธุรกิจนิคมในพื้นที่ภาคนี้จึงยังคงเติบโตได้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเช่า สำหรับนิคมในภาคอื่น อย่างภาคตะวันตก ภาคใต้ยังคงทรงตัว
แผนการพัฒนาพื้นที่ให้สอดรับกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุน
จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบายส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ต้องการที่จะเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีการกำหนดแผนงานเสริมความแกร่งในการพัฒนานิคมฯ ต่าง ๆ ให้เกิดการ ขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรม การปล่อยเช่าที่ดิน หรือเช่าโรงงานให้กับกลุ่มธุรกิจนั้น ในส่วนของคณะกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการลงทุนไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของประเทศโดยหมายมั่นปั้นมือที่จะสร้างนิคมทุกแห่งให้เป็นพื้นที่แห่งความมั่งคั่ง พร้อมที่จะให้นักลงทุนและผู้ประกอบการเข้ามาก่อร่างสร้างฐานการผลิตได้อย่างแข็งแกร่ง
ที่สำคัญก็คือ บนพื้นที่แห่งความมั่งคั่งนี้จะต้องเป็นที่ยอมรับและไม่ถูกต่อต้านจากชุมชน โดยนิคมทุกแห่งจะต้องดำเนินการพัฒนาพื้นที่โดยคำนึงถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการกระจายรายได้สู่ชุมชนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ประชาชนที่อยู่รอบข้างนิคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีไปด้วย สำหรับ นิคมอุตสาหกรรม 304 เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาพื้นที่สวนอุตสาหกรรมของประเทศไทยในเขตภาคตะวันออกเพื่อให้รองรับการลงทุนที่กำลังเติบโต ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน ระบบการจัดการน้ำภายในโรงงานให้เช่า และภายในพื้นที่โดยรวม พร้อมระบบการระบายน้ำเสียที่ไม่สร้างมลพิษ รองรับการดำเนินงานของอุตสาหกรรมการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับวิถีชีวิตของชุมชน
ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง เพิ่มมูลค่าการลงทุนในประเทศ
จากมาตรการสนับสนุนที่เอื้อต่อการลงทุนของผู้ประกอบการที่ภาครัฐได้จัดขึ้นอย่างจริงจัง และการที่ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาที่ดินในนิคมต่าง ๆ มีการปรับตัวมากขึ้นทั้งในด้านความพร้อมของบริการ และระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในนิคมอุตสาหกรรม นักลงทุนและผู้ประกอบการเลือกที่จะซื้อหรือเช่าพื้นที่ที่นิคมอุตสาหกรรมเป็นผู้จัดสรรมากกว่าการไปซื้อที่ดินในเขตอื่น ทำให้นิคมอุตสาหกรรมมีการขยายตัวต่อเนื่อง กิจการของผู้ประกอบการนิคมหลายแห่ง รวมถึง สวนอุตสาหกรรม 304 มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นกัน ซึ่งการขยายตัวของพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกซึ่งมีถึง 77.8% ของนิคมทั้งหมดในประเทศไทย โดยมีมูลค่ารวมของโครงการลงทุนที่ยื่นขอรับการอนุมัติจาก BOI เข้ามาตั้งฐานการผลิตในภาคนี้มากที่สุด
ที่ดินนิคมในประเทศไทย ปี 2567 จุดยุทธศาสตร์หลักของนักลงทุนทั่วโลก
ปี 2567 ยังคงมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และหากมองจากฝั่งของนักลงทุน ผู้ประกอบการจากต่างประเทศก็เล็งประเทศไทยเป็นฐานที่ตั้งใหม่ บริษัทใหญ่หลายรายมีแนวโน้มที่จะขยายฐานการผลิตเข้ามาที่ประเทศไทยมากขึ้น ประเด็นนี้จะเพิ่มมูลค่าการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้สูงขึ้น เพราะนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่งของเราขณะนี้ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้รองรับผู้ประกอบการได้เป็นจำนวนมาก และมีการจัดระบบให้นักลงทุนทุกรายสามารถที่จะอยู่ร่วมกันและเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนระดับภูมิภาคในเร็ววัน
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO