วิธีการใช้หินเจียรในโรงงาน
" ข้อแนะนำในการใช้หินเจียร "
หินเจียร เป็นเครื่องมือกลที่ใช้งานกันทั่วไปทั้งในงานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านเรือนทั่วไป โดยหินเจียรมักถูกนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องเจียระไนสำหรับงานขัดแต่งผิววัสดุ ลับคมหรือแม้กระทั่งการตัดวัสดุเหล็ก ไม้ สแตนเลสกระจก ท่อพีวีซี กระเบื้องเซรามิก เป็นต้น
ปัจจุบันหินเจียรจะมีให้เลือกใช้งานอยู่หลายชนิดหลายขนาด ซึ่งแต่ละชนิดจะคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกหินเจียรให้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและใช้งานได้อย่างปลอดภัย
1.การตรวจสอบหินเจียรก่อนใช้งาน
โดยการเคาะฟังเสียงเคาะรอบๆหินเจียรเบาๆด้วยไม้แข็ง แล้วฟังเสียง ถ้ามีเสียงกังวาลคล้ายเสียงเคาะเหล็ก แสดงว่าหินเจียรไม่มีรอยแตกร้าว แต่ถ้าเสียงไม่ก้องอาจเกิดจากร้อยแตกร้าว
2.การประกอบหินเจียรเข้ากับหน้าจานของเครื่อง
-ยึดจานด้านในให้แน่นโดยใช้ลิ่มช่วยในการยึดและหน้าจานจะต้องร่วมศูนย์กับเพลา (Spindle) ของเครื่อง
-เส้นผ่าศูนย์กลางของรูกลางของหินเจียรควรโตกว่าเพลาเล็กน้อย
-หน้าแปลนประกบหินเจียรจควรสะอาด เรียบและนูนออกที่ขอบโดยเส้นผ่าศูนย์ต้องยาวเป็น 1/3 ของหิน
-ระหว่างหินเจียรและหน้าแปลนควรมีแผ่นกั้นที่เรียบและสะอาดอยู่ตรงกลาง
-ขนาดของหน้าจานทั้งสองข้างควรมีขนาดเท่ากัน
-ปรับฝาคลอบฝุ่นและแท่งรองชิ้นงานให้ห่างจากหน้าหิน 3 มม.
3.ความเร็วรอบหมุนของเครื่องเจียรจะต้องไม่เกิน ความเร็วรอบสูงสุดของหินเจียร
4.การถ่วงหิน (Balancing)
ถ้าหินที่มีขนาดโตควรทำการถ่วงหิน (Balancing) หินเจียรก่อนทุกครั้งการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้หินเจียร
5. ทดสอบการหมุนหลังจากประกอบหินเจียรเข้ากับเครื่อง ก่อนทำการเจียรชิ้นงานควรทดสอบการหมุนของหินเจียรที่ความเร็วรอบปกติประมาณ 3 นาที และไม่ควรยืนตรงหน้าหินเจียรที่กำลังหมุน
6. การเก็บรักษาควรเก็บรักษาหินเจียรไว้ในที่ ที่ไม่โดน น้ำมัน น้ำ ฝุ่นละออง และไม่ควรให้หินเจียรสัมผัสโดยตรงกับความร้อน
ข้อห้ามในการใช้งานหินเจียร
ห้ามเปลี่ยนแปลงรอบหมุนของมอเตอร์โดย ปราศจากคำแนะนำที่ถูกต้องจากผู้ผลิต
ห้ามเค้นหินเมื่อมอเตอร์ช้าหรือชิ้นงานร้อนเกินไป และ ห้ามกดหน้าหินแรงๆ โดยเด็ดขาด
ห้ามแก้ไขรูในหรือพยายามดันแรงๆเพื่อสวมหินเจียรเข้าไปที่เพลา
การใช้หินเจียรที่ผิดวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรง
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO