ระบบไฟฟ้ารถยนต์ ดูแลรักษาอย่างไร ?
Tags: ระบบไฟฟ้ารถยนต์
ระบบไฟฟ้ารถยนต์ ดูแลรักษาอย่างไร?
ระบบไฟฟ้ารถยนต์...ดูแลรักษาอย่างไร ?
แหล่งจ่ายไฟ (แบตเตอรี่)
- ควรตรวจระดับน้ำกรด และเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์
- ตรวจทำความสะอาด ขั้วแบต ถ้ามีคราบขี้เกลือ
- ตรวจความหลวมของขั้วแบตเตอรี่ ถ้าหลวมต้องขันให้แน่น
ตัวนำ (สายไฟ)
- ตรวจสอบความแน่นของปลั๊กต่อ และคลิปล็อคต่างๆ ของสายไฟ
- กรณีมีการเสียหายควรเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ตามขนาดที่ระบุในคู่มือตามค่ามาตราฐาน อุปกรณ์ควบคุม (สวิตช์)
- เมื่อเปิดใช้งานระบบต่างๆ แล้วควรมปิดอุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน ไม่ควรเปิดสวิตช์ค้างไว้
อุปกรณ์ใช้งาน (มอเตอร์ หลอดไฟ หรือแตร เป็นต้น)
- ควรดูแลให้มีสภาพสมบรูณ์ และจัดการเปลี่ยนให้ได้ตามขนาด
- ตรวจความสกปรกของข้อต่อสายกราวด์ ขันทำความสะอาดและขันจุดลงกราวนด์ทั้งหมดให้แน่น
ระบบไฟฟ้าในทุกอุปกรณ์นั้นหากเกิดปัญหาก็สามารถทำให้อุปกรณ์เสียหายได้เลย ซึ่งในยานพาหนะของเรา เช่นรถยนต์ ก็มีระบบไฟฟ้าที่ทำให้รถของเราเคลื่อนที่ได้ ใช้งานได้ โดยระบบไฟฟ้านั้นต้องมีการดูแลที่สม่ำเสมอ ดังนั้นวันนี้ FactoriPro จะมาบอกวิธีการดูแลรักษาว่าระบบไฟฟ้ารถยนต์ดูแลรักษาอย่างไร?
ระบบไฟฟ้ารถยนต์...ดูแลรักษาอย่างไร ?
ต้นกำเนิดพลังงาน หรือ แหล่งจ่ายไฟ (แบตเตอรี่)
- ควรตรวจระดับน้ำกรด และเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ (ระดับน้ำกรดจะสูงกว่าแผ่นธาตุประมาณ 12-18 มม.) และสำหรับรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ควรจะต้องนำแบตเตอรี่มาทำการชารจ์ประจุไฟให้เต็มทุกเดือน เพราะถึงแม้ไม่ได้ใช้งาน แบตเตอรี่ก็จะมีการคายประจุออกมาเอง และ ในปัจจุบัน ระบบต่างๆ ในรถยนต์จะมีการควบคุมการทำงานด้วยอิเลกทรอนิกส์ จึงมีกระแสไฟส่วนหนึ่งไปเลี้ยงเพื่อให้ระบบทำงาน และสำรองไฟให้กับหน่วยความจำของกล่องควบคุม
- ตรวจทำความสะอาด ขั้วแบต ถ้ามีคราบขี้เกลือ ควรล้างด้วยน้ำสะอาด หรือราดด้วยน้ำร้อนที่ขั้วแบต ทั้งขั้วบวก และ ขั้วลบของแบตเตอรี่
- ตรวจความหลวมของขั้วแบตเตอรี่ ถ้าหลวมต้องขันให้แน่น (เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อร่างกาย และการทำงานที่ไม่สมบรูณ์ของอุปกรณ์ไฟฟ้า) และใช้วาสลีน หรือจาระบีทาบางๆ ที่ขั้วแบตเตอรี่ เพื่อป้องกันการเกิดขี้เกลือที่เกิดจากปฎิกิริยาของกรดในแบตเตอรี่
ตัวนำ (สายไฟ)
- ตรวจสอบความแน่นของปลั๊กต่อ และคลิปล็อคต่างๆ ของสายไฟ โดยจะต้องไม่หักงอ หรือถูกกดทับ
อุปกรณ์ป้องกัน (ฟิวส์ และ รีเลย์)
- กรณีมีการเสียหายควรเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ตามขนาดที่ระบุในคู่มือตามค่ามาตราฐาน มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบ และเกิดอัตรายต่อการใช้รถยนต์ได้
อุปกรณ์ควบคุม (สวิตช์)
- เมื่อเปิดใช้งานระบบต่างๆ แล้วควรมปิดอุปกรณ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน ไม่ควรเปิดสวิตช์ค้างไว้ แล้วใช้การเปิดและปิดด้วยสวิตช์กุญแจแทน เพราะขณะสตาร์ทเครื่องยนต์ จะมีการกินกระแสไฟฟ้าสูงมากซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานและความเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ทั้งยังเป็นการเพิ่มโหลดให้กับแบตเตอรี่ ขณะสตาร์ทเครื่องยนต์อีกด้วย
อุปกรณ์ใช้งาน (มอเตอร์ หลอดไฟ หรือแตร เป็นต้น)
- ควรดูแลให้มีสภาพสมบรูณ์ และจัดการเปลี่ยนให้ได้ตามขนาด เช่น หลอดไฟที่ขาดควรเปลี่ยนวัตต์ (W) ตามขนาดเดิม เพราะถ้าเพิ่มวัตต์ให้สูงขึ้น จะทำให้มีการกินกระแสมากกว่าปกติจนเกิดความร้อนในระบบ ส่งผลให้เกิดการขาดของวงจรได้
กราวด์ (สายดิน)
- ตรวจความสกปรกของข้อต่อสายกราวด์ ขันทำความสะอาดและขันจุดลงกราวนด์ทั้งหมดให้แน่น (สายดินที่ตัวถังและแชสซีส์) หมายเหตุ : แชสซีส์และตัวถังรถยนต์เป็นสายกราวนด์ (ขั้วลบ)
>>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO