วิธีการเพิ่มความปลอดภัยในโรงงาน

5 เทคนิคเพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

          1. อบรมการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานในโรงงานไม่ปลอดภัย ส่วนหนึ่งก็มาจากตัวของพนักงานเองที่ขาดความระมัดระวัง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรจัดอบรมพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขาตระหนักถึงความระมัดระวังในการทำงาน รวมถึงอบรมขั้นตอนการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัยด้วย
 
          2. ดูแลรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานอยู่เสมอ
ผู้ประกอบการจะต้องวางผังโรงงานให้เหมาะสม มีแสงสว่างที่เพียงพอ มีอากาศที่ถ่ายเท ที่สำคัญจะต้องหมั่นตรวจสอบเครื่องมือที่และเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยทุกอย่างจะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน ไม่ได้รับความเสียหาย หรือชำรุด และถ้าหากพบปัญหาก็ควรที่จะรีบแก้ไข้ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ
 
          3. ใส่อุปกรณ์ป้องกันหรือแต่งกายให้เหมาะสม
อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องเตรียมให้กับพนักงานอย่างครบครันก็คืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment : PPE) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “อุปกรณ์เซฟตี้” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
    ตัวอย่างอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE เช่น
หน้ากากนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันระบบหายใจจากสารเคมี และฝุ่นละอองต่าง ๆ
แว่นตานิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจากสารเคมี เศษไม้ เศษโลหะ และอื่น ๆ มีทั้งแบบครอบตาและหน้ากากเชื่อม
ถุงมือนิรภัย มีหลายชนิด หลายรูปแบบ เช่น ถุงมือใยหิน สำหรับป้องกันความร้อน ถุงมือยาง สำหรับทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือถุงมือหนังเสริมใยเหล็กสำหรับงานหลอม หรือถุงโลหะ เป็นต้น
รองเท้านิรภัย อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทกและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้าโดยเฉพาะ มีหลายรูปแบบ เช่น รองเท้านิรภัยป้องกันสารเคมีที่ทำจากยางธรรมชาติ หรือรองเท้านิรภัยแบบพื้นไม้ที่ใช้ในโรงงานที่พื้นเปียกชื้นตลอดเวลา
หมวกนิรภัย ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืองานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูง
 
        4. เตรียมความพร้อมอยู่เสมอ
เป็นอีกสิ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการจะต้องปรับแต่งสถานที่ทำงานในที่ที่ใกล้เคียงกับแหล่งกำเนิดอันตรายให้มีความปลอดภัยมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอให้เกิดอันตรายก่อน เช่น อาจใช้เครื่องกำบังมาครอบเครื่องจักรบริเวณที่มีจุดหนีบ เพื่อไม่ให้พนักงานสามารถเข้าไปอยู่ใกล้บริเวณที่อันตรายได้ เป็นต้น
 
        5.เลือกทำประกันวินาศภัยเพื่อโรงงานโดยเฉพาะ
แม้ว่าจะเตรียมป้องกันรอบคอบแค่ไหน แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ในทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามก็คือการทำประกันวินาศภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโรงงาน อาคาร และตัวพนักงานเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีทุนสำรองในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้นั่นเอง
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
 
Visitors: 7,872