เหล็กแผ่น มีกี่ประเภท ?

เหล็กแผ่น มีกี่ประเภท ?

How many types of steel sheets are there

เหล็กแผ่น มีกี่ประเภท ?
1.Hot Rolled Steel Sheet หรือเหล็กแผ่นดำ
2.Pickled and Oiled Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นดำขัดผิว
3.Cold Rolled Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นขาว
4.Galvanized Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นสังกะสี

 

1.Hot Rolled Steel Sheet หรือเหล็กแผ่นดำ

      เหล็กแผ่นดำ เป็นเหล็กที่ผลิตจากการนำเหล็กแผ่นหนามารีดด้วยความร้อนสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้ขนาดและความหนาตามต้องการก่อนจะนำไปม้วนหรือขึ้นรูป ซึ่งในบ้านเรานั้นเหล็กแผ่นดำยังแยกออกเป็น 2 แบบ คือ
- เหล็กแผ่นลายที่ทำออกมาให้มีพื้นผิวนูนลักษณะจะคล้ายกับเมล็ดข้าว มีความหนาอยู่ระหว่าง 2-9 มิลลิเมตร โดยพื้นผิวบนเนื้อเหล็กแบบนี้จะลดความลื่นได้ดี จึงมักถูกนำไปใช้ปูพื้นทางเดินหรือพื้นรถบรรทุก เป็นต้น
- เหล็กแบนตัดหรือเหล็กแผ่นแบน เป็นเหล็กแผ่น คุณสมบัติทนทานต่อการพับได้ดี สามารถนำไปแปรรูปหรือขึ้นรูปเป็นชิ้นงานได้หลากหลาย อาทิ ฝาท่อ, รางน้ำ, แหนบรถบรรทุก โดยมีความหนาอยู่ระหว่าง 3-25 มิลลิเมตร
สำหรับคุณสมบัติของเหล็กแผ่นดำนั้นถือได้ว่ามีความแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศและความร้อนได้อย่างยอดเยี่ยม ทำให้อายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือสร้างผลงานได้มากมายทั้งการขึ้นรูป, งานปูพื้นกันลื่น, งานโครงสร้าง, เหล็กแผ่นเจาะรู หรือตัดพับเป็นชิ้นส่วนในยานยนต์ประเภทต่าง เป็นต้น ทั้งนี้ในการเลือกใช้ควรมองหามาตรฐาน มอก.1479-2558, มอก.528-2560, JIS G3131, JIS G3101 ส่วนเกรดของเหล็กแบบนี้แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ SS400, SS490 และ SPHC

2.Pickled and Oiled Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นดำขัดผิว

      เหล็กแผ่นดำขัดผิว เป็นการนำเหล็กแผ่นดำมารีดด้วยความร้อนระหว่าง 1,000 – 1,250 องศาเซลเซียส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้สูงขึ้น มีความหนาลดลง สามารถนำไปใช้ในขนาดและความหนาตามที่ต้องการ พื้นผิวเหล็กจะมีความเรียบ มีสีขาวเทา และดูสวยงามกว่าแบบแรก
เหล็กแผ่นดำขัดผิว ถือว่ามีความละเอียดและสวยงามของพื้นผิว ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานสูง ไม่สึกกร่อนง่าย เหนียว เป็นเหล็กแผ่นเรียบอายุการใช้งานยาวนาน เชื่อมประสานได้น่าพอใจ ทำให้นิยมนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ใช้เป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า, ถังก๊าซ, ถังคอมเพรสเซอร์, ชิ้นส่วนยานยนต์, งานโครงสร้าง และอื่นๆ สำหรับมาตรฐานของเหล็ก ได้แก่ มอก.1479-2558, มอก.528-2560, JIS G3131, JIS G3101 ส่วนเกรดของเหล็กแบ่งออกเป็น 3 ระดับเช่นกันคือ SS400, SS490 และ SPHC

3.Cold Rolled Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นขาว

      เหล็กแผ่นขาว เป็นเหล็กที่ผลิตด้วยการนำเหล็กแผ่นดำมารีดเย็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดสนิมออกจนได้เหล็กสีขาวเทา ก่อนจะนำไปรีดอีกรอบด้วยอุณหภูมิปกติ เพื่อให้ได้ความหนาที่ต้องการระหว่าง 0.35 – 3.40 มิลลิเมตร รวมถึงทำการขัดผิวเหล็กให้มีความเงามากขึ้น เรียบขึ้นเพื่อความสวยงาม
คุณสมบัติของเหล็กแผ่นขาวที่โดดเด่นก็คือมีการเคลือบผิวด้วยสารเคมีไอออนฟอสเฟต ช่วยให้ไม่ขึ้นสนิมหรือผุง่าย พื้นผิวให้ความมันวาวสวยงาม รวมถึงนุ่มกว่าเหล็กดำทั้งสองแบบที่กล่าวมาช่วยให้เวลาจะนำไปแปรรูปหรือพับม้วนเป็นชิ้นงานทำได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับการใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดเช่น งานเฟอร์นิเจอร์, งานโครงสร้างอุปกรณ์ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เน้นความสวยงามแต่แข็งแรง ทั้งนี้ให้มองหามาตรฐาน มอก.2012-2558 เพื่อที่จะวางใจในคุณภาพของเหล็กที่ใช้ได้มากขึ้น

4.Galvanized Steel Sheet หรือ เหล็กแผ่นสังกะสี

     ในส่วนของเหล็กแผ่นสังกะสีนั้นเป็นเหล็กแผ่นบางๆ มีทั้งความมันวาวและเรียบเนียน ได้จากการนำเอาเหล็กม้วนดำมารีดเย็นและเคลือบทั้งสองด้านด้วยสังกะสี ในอ่าง Galvanized ที่เหลวและความร้อนสูง ก่อนจะนำไปตัด พับ หรือม้วน เพื่อให้เหมาะกับชิ้นงานแต่ละประเภทต่อไป
เหล็กแผ่นสังกะสีมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของความมันวาวและผิวที่เรียบ สารที่เคลือบช่วยป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ดี สู้น้ำและความชื้นได้ยอดเยี่ยม ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นิยมนำไปใช้กับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ข้าวของเครื่องใช้, กันสาด, งานโครงสร้างเหล็ก, รั้ว, ระเบียง หรือราวบันได เป็นต้น โดยควรผ่านมาตรฐาน มอก.50-2561 หรือ JIS G3302
 
      >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
 
 
 

 

 

Visitors: 7,875