เครื่องกลึงมีกี่ประเภท

เครื่องกลึงมีกี่ประเภท และมีส่วนประกอบอะไรบ้าง?

How many types of lathes are there

   เครื่องกลึงมีประเภท ดังนี้
1.เครื่องกลึงที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC / Computer Numerically Controlled)
2.เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathes)
3.เครื่องกลึงแนวตั้ง (Vertical Lathe)
4.เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe)
5.เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe)

ส่วนประกอบของเครื่องกลึงมีอะไรบ้าง?
- ฐานเครื่อง(Base)
เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของเครื่อง จะอยู่กับพื้นโรงงานโดยมีฐานรองเครื่องรองรับอยู่เพื่อสะดวกในการปรับระดับ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง เครื่องขนาดใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อจะทำให้เครื่องมั่นคงไม่สั่นสะเทือน ถ้าเป็นเครื่องขนาดเล็กอาจจะทำด้วยเหล็กเหนียว
 
- แท่นเครื่อง(Bed Ways)
เป็นส่วนที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง ทำด้วยเหล็กหล่อ ทำหน้าที่รองรับชุดหัวเครื่อง ชุดท้ายแท่นและชุดแท่นเลื่อน ที่สันบนแท่นเครื่องจะมีลักษณะเป็นรูปตัววีคว่ำ เพื่อใช้เป็นรางเลื่อนให้ชุดแท่นเลื่อน และชุดท้ายแท่นเลื่อนไปมา
 
- ชุดหัวเกียร์(Heab Stock)
อยู่ตรงด้านซ้ายของเครื่อง ภายในประกอบด้วยชุดเฟืองใช้สำหรับปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ และเปลี่ยนอัตราป้อนกลึง เพื่อส่งกำลังไปยังแกนเพลาและชุดเฟืองขับต่างๆ เพื่อกลึงอัตโนมัติ และกลึงเกลียว
 
- แกนเพลาเครื่องกลึง(Spindle)
มีลักษณะเป็นเพลากลม คล้ายท่อภายในเป็นรูกลวงด้านหน้า มีบ่าและรูยึดน๊อตสกรู เพื่อให้หัวจับสามารถยึดติดตั้งได้อย่างมั่นคง และมีเรียวมาตรฐานมอสเตเปอร์ ใช้ประกอบกับตัวยันศูนย์ และห่วงพาชิ้นงานหมุน เพื่อใช้งานยันศูนย์ที่หัวเครื่อง กับแท่นยันศูนย์ ท้ายเครื่อง แกนเพลาเครื่องกลึงยังใช้ประกอบกับหัวจับแบบต่างๆ เช่น สามจับ หรือ สี่จับ และจานพา
 
- ชุดแท่นท้าย(Tail Stock)
อยู่ทางท้ายของแท่นเครื่อง สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้บนแท่นเครื่อง แท่นยันศูนย์สามารถปรับระยะได้บริเวณฐานเพื่อปรับให้แท่นยันศูนย์ตรงกับศูนย์กลางของหัวจับ
ส่วนล่างของแท่นยันศูนย์ จะวางบนแท่นเลือนมีตัวจับยึดให้อยู่กับที่เวลาใช้งาน เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของแท่นยันศูนย์ จะมีขีดสเกลไว้ให้ดูเวลาปรับเยื้องศูนย์เวลากลึงเรียว แต่ไม่ละเอียดพอในการปฏิบัติงานจริงจะต้องใช้นาฬิกาวัดด้วย
ส่วนบนของท้ายแท่นประกอบด้วยแกนเพลา สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ด้วยแขนหมุน เพื่อใช้ป้อนยันศูนย์งาน หรือป้อนดอกสว่านเจาะงาน ที่แกนเพลาจะมีขีดบอกระยะ ภายในแกนเพลาจะเป็นรูเรียวมาตรฐานมอส เพื่อใช้จีบยึดยันศูนย์ จับยึดหัวจับดอกสว่าน หรือดอกสว่านก้านเรียว
 
- ชุดแทนเลื่อน(Carriage)
อยู่บนแท่นเครื่องที่ซ้ายขวาบนแท่นเครื่องเพื่อใช้ในการกลึงปอกงาน สามารภเคลื่อนที่มือและอัตโนมัติ ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
อานม้า (Saddle) เป็นส่วนที่วางอยู่บนสันตัววีคว่ำบนแท่นเลือน เพื่อบังคับการเคลื่อนที่ซ้ายขวา จะมีรูปร่างเหมือน ตัวอักษร H บนอานม้าจะมีแท่นตัดขวางวางอยู่
Apronเป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของแท่นเลื่อนจะยึดติดอยู่บนอานม้า บน Apron จะมีแขนหมุนกลึงปอก คันโยกกลึงอัตโนมัติ คันโยกสำหรับกลึงเกลียว
 
- แท่นตัดขวาง(Cross Slide)
จะวางอยู่บนอานม้าสามารถเคลื่อนที่ไปในแนวขวางบนอานม้าเพื่อใช้กลึงปาดหน้า ด้ายการป้อนด้วยมือหรือป้อนด้ายอัตโนมัติ
 
- Compound Rest
เป็นชิ้นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นตัดขวางสามารถตั้งองศาเพื่อกลึงเป็นมุมเรียวต่างๆได้ ส่วนบนจะมี Compound Rest หรือ Top Slide อยู่
 
- ป้อมมืด(Tool Post)
ยึดติดอยู่บน Compound Rest เป็นตัวจับยึดด้ามมีดหรือจับยึดมีดกลึงโดยตรงในกรณีใช้มีดกลึงแบบไม่ต้องใช้ด้ามมีดจับยึด คือมีดกลึงมีขนาดตั้งแต่ 3/8 นิ้ว ขึ้นไปปัจจุบันนิยมใช้ป้อมมีดแบบเทอเรต สามารถจับมีดกลึงได้ทั้ง 4 ด้าน สามารถเปลี่ยนมีดได้เร็ว
 
- มอเตอร์(Motor)
เป็นตัวส่งกำลังไปยังชุดเฟืองทดเพื่อใช้ส่งกำลังไปตำแหน่งต่างๆ มีทั้งใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์และ 380 โวลต์
 
- แขนโยกปรับความเร็ว
ปรับอุปกรณ์ทีใช้โยกเปลี่ยนเฟืองเพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเปลี่ยนความเร็วรอบ ความเร็วในการป้อนกลึงงาน ทำให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
 
      จบกันไปแล้วสำหรับบทความที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งหน้าเราจะนำเสนอเรื่องใด อย่าลืมติดตามกันไว้นะครับ
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
 
Visitors: 7,873