ถังดับเพลิง แยกประเภทอย่างไร?

ถังดับเพลิง แยกประเภทอย่างไร?

How are fire extinguishers classified

ถังดับเพลิง แยกประเภทอย่างไร?
ประเภท A (Ordinary Combustibles)
ประเภท B (Flammable Liquids)
ประเภท C (Electrical Equipment)
ประเภท D (Combustible Metals)
ประเภท K (Combustible Cooking)

     ในปัจจุบันการเกิดเหตุไฟไหม้นั้น เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นเราควรทราบถังดับเพลิงแยกประเภทอย่างไร และใช้ดับเพลิงประเภทใด

ประเภท A (Ordinary Combustibles)

ใช้ดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ยาง พลาสติก ผ้า กระดาษ ขยะ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ทั่วไปตามที่อยู่อาศัย และสามารถดับเพลิงได้ด้วยน้ำเปล่า

ประเภท B (Flammable Liquids)

ใช้ดับเพลิงไหม้ของเหลวหรือก๊าซติดไฟง่าย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันดิบ น้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซิน ก๊าซหุงต้ม น้ำมันหล่อลื่น จำพวก ทินเนอร์ จาระบี เชื้อเพลิงเหล่านี้พบได้ในสถานที่อุตสาหกรรมที่ผลิตเชื้อเพลิง หากเกิดไฟไหม้จะลุกลามได้นาน ไม่สามารถใช้น้ำเปล่าดับได้ต้องดับด้วยออกซิเจน

ประเภท C (Electrical Equipment)

ใช้ดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพราะกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า สายไฟฟ้า กรณีนี้มักเกิดจากที่มีความร้อนสะสมนาน หรือเกิดจากวัสดุเสียหายชำรุดจนก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การดับไฟที่เกี่ยวกับไฟฟ้าห้ามใช้น้ำหรือของเหลว เพราะจะทำให้วัสดุใกล้เคียงเสียหายได้ ต้องใช้สารเคมีแห้งที่ไม่ทิ้งคราบเกาะหลังดับไฟแล้ว

ประเภท D (Combustible Metals)

ใช้ดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากโลหะบางชนิดที่ติดไฟได้ง่าย เช่น ไทเทเนียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม อลูมิเนียม เป็นต้น โลหะเหล่านี้พบได้ในห้องปฏิบัติการทดลอง หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้โลหะสร้างวัสดุ เชื้อเพลิงเหล่านี้ไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่า ต้องดับด้วยสารเคมีเท่านั้น

ประเภท K (Combustible Cooking)

ใช้ดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากการใช้น้ำมันประกอบอาหาร น้ำมันจากไขมันสัตว์ หรือของเหลวบางชนิดที่ใช้ประกอบอาหาร พบได้ในห้องครัวหรือร้านอาหาร เชื้อเพลิงประเภทนี้ค่อนข้างหนืด ดับด้วยน้ำเปล่าเป็นเรื่องยาก
 
     >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 7,873