วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของ อย.
วัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของ อย.
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิดตามความจำเป็นแก่การควบคุม ได้แก่ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ดูรายละเอียดใน การแบ่งชนิดและการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด) และกำหนดให้ประกาศรายชื่อวัตถุอันตราย ชนิดของวัตถุอันตราย หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และเงื่อนไขในการควบคุมไว้ในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย
บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เรียกว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ซึ่งบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ(อย.) นั้นถูกจัดอยู่ใน “บัญชี 4” ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ โดยแบ่งเป็น
– บัญชี 4.1 เป็นการประกาศตามรายชื่อสารเคมี พร้อมระบุเลขทะเบียนซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของวัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม
– บัญชี 4.2 เป็นการประกาศตามกลุ่มสารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างหรือกลไกการออกฤทธิ์อย่างเดียวกัน พร้อมระบุเลขทะเบียนซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของวัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม
– บัญชี 4.3 เป็นการประกาศตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุประสงค์การนำไปใช้ พร้อมระบุเลขทะเบียนซีเอเอส ( CAS No. ) ชนิดของวัตถุอันตราย และเงื่อนไขในการควบคุม
การตรวจสอบเบื้องต้นว่าสารเคมีใดหรือผลิตภัณฑ์เคมีใดจะจัดเป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ให้ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนดังนี้
- ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ สารสำคัญ ” ตรงกับ “รายชื่อสารเคมี” และมีวัตถุประสงค์การใช้เป็นไปตามเงื่อนไขใน “ บัญชี 4.1 ” หรือไม่
- ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ สารสำคัญ ” อยู่ใน “กลุ่มสารเคมี” และมีวัตถุประสงค์การใช้เป็นไปตามเงื่อนไขใน “ บัญชี 4.2 ” หรือไม่
- ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์มี “ วัตถุประสงค์การใช้ หรือการอ้างสรรพคุณ ” เป็นไปตามวัตถุอันตรายใน “ บัญชี 4.3 ” หรือไม่
สารเคมีใดหรือผลิตภัณฑ์เคมีใดที่เข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน เรือนหรือทางสาธารณสุขในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด ดังนี้
กรณีผลิตภัณฑ์เข้าข่ายเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ต้องแจ้งข้อเท็จจริง กรณีเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และ 3 ต้องขอขึ้นทะเบียน และต้องแจ้งดำเนินการ (สำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2) หรือขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก ตามแต่กรณี (สำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO