“กองทุน” จัดการกากขยะอุตสาหกรรม
Tags: ข่าวสาร
“กองทุน” จัดการกากขยะอุตสาหกรรม
“กองทุน” จัดการกากขยะอุตสาหกรรม
การประกาศลาออกของ “นายจุลพงษ์ ทวีศรี” อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ทั้งที่เหลือระยะเวลาเกษียณอายุราชการอีกเพียง 5 เดือน จะครบในวันที่ 30 กันยายน 2567 น่าจะมาจากความกดดันจากการทำงาน จากสาเหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงงานอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่และหลายครั้งติดต่อกัน ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ทั้งโรงงานพลุระเบิด โรงงานสารเคมี อ.บ้านค่าย จ.ระยอง มาสู่โรงงานสารเคมี อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา
และที่สำคัญคือ ประเด็นการพบ “กากแร่แคดเมียม” ที่ถูกขุดออกจากบ่อเก็บกากอุตสาหกรรม ของ “บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน)” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 อีก 15,000 ตัน วัตถุอันตรายจากเหมืองแร่สังกะสี ซึ่งตามข้อมูลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ฝังกลบเท่านั้น ไม่อนุญาตให้มีการ “ขนย้าย” แรงกดดันดังกล่าวจึงพุ่งมาที่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่วงในระยะเวลาดังกล่าว แม้ว่าจะพยายามตรวจสอบเร่งหาสาเหตุของการหลุดออกไปของกากแคดเมียม ตามคำสั่งของ “นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีการสั่งย้ายอุตสาหกรรมจังหวัดตาก เป็นการเริ่มต้น แต่ก็ถือว่าการปฏิบัติงานและการออกมาแสดงความรับผิดชอบ รวมถึงการชี้แจงข้อมูลความจริง ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
ขณะที่การดำเนินการจัดการกับ “กากแคดเมียม” เพื่อขนส่งกลับไปฝั่งกลบใน จ.ตาก ก็ยังมาประสบปัญหาสะดุดลงระหว่างทางอีก ในช่วง 22.00 น. ของวันที่ 29 เมษายน 2567 การขนย้ายกากแคดเมียมลอตแรกของ จ.สมุทรสาคร และบางซื่อ โดยรถบรรทุกจำนวน 10 คัน น้ำหนักทั้งสิ้น 254 ตัน ที่ใช้เวลาเดินทาง 7 ชั่วโมง ถึง จ.ตาก บนเส้นทางสายเอเชีย แต่กลับปรากฏว่า “โซ่ยกถุงบิ๊กแบ็กขาด”
ทำให้กากแคดเมียมตกกระจายบนพื้น จึงต้องสั่งระงับการขนย้าย และนำแผนสำรองเข้ามาทันทีและเริ่มการขนย้ายใหม่อีกครั้งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 และคาดการณ์ว่ากว่าจะขนกลับ จ.ตาก ครบจะต้องรอไปถึงกลางเดือนมิถุนายน 2567
ปลดล็อกทางออกปัญหา
มุมมอง นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า การลาออกของอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการลงโทษหรือเป็นการรับผิดชอบที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะกรณีเพลิงไหม้ที่ จ.ระยอง หรือเรื่องกากแคดเมียม ต้องกลับไปดูที่ต้นตอว่าเกิดขึ้นยุคไหน สมัยไหน ปลัดและอธิบดีท่านไหน ที่มีการปล่อยปละละเลย (หรือเห็นด้วย) ให้มีการอนุญาตให้ขนกากที่เป็นวัตถุอันตรายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองกากอุตสาหกรรม หน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มุมมอง นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า การลาออกของอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการลงโทษหรือเป็นการรับผิดชอบที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะกรณีเพลิงไหม้ที่ จ.ระยอง หรือเรื่องกากแคดเมียม ต้องกลับไปดูที่ต้นตอว่าเกิดขึ้นยุคไหน สมัยไหน ปลัดและอธิบดีท่านไหน ที่มีการปล่อยปละละเลย (หรือเห็นด้วย) ให้มีการอนุญาตให้ขนกากที่เป็นวัตถุอันตรายในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองกากอุตสาหกรรม หน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งภาคการเมือง ทั้งที่ดูแลด้านนโยบาย และภาคนิติบัญญัติควรจะแสดงความเป็นมืออาชีพ ในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทั้งการอนุญาต การตรวจสอบ การแก้ไขมลพิษ และสิ่งสำคัญหลังจากนี้คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งนายอิศเรศมองว่า ปัญหาการเคลื่อนย้ายสารเคมีที่ล่าช้าเกิดจากจะต้อง “รองบประมาณ” ในการขนย้าย ซึ่งทางเอกชนเห็นว่า ก่อนหน้านี้ กระทรวงได้มีการเสนอประเด็นการแก้ไขกฎหมาย เพื่อวางแนวทางเกี่ยวกับ “กองทุน” ในการบริหารจัดการสารเคมีเข้าไป ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เกิดปัญหาการระเบิดโรงงานพลุที่ จ.สุพรรณบุรี เพื่อวางแนวทางระยะยาว