หัวกระจายน้ำดับเพลิง คือ

หัวกระจายน้ำดับเพลิง

  ในอาคารสำนักงาน อาคารสูง สถานประกอบการต่าง ๆ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการติดตั้งระบบดับเพลิงเพื่อความปลอดภัยต่อสถานที่และลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินจากความเสียหายจากอัคคีภัย ซึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการดับเพลิงนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นติดตั้ง fire pump ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซ และระบบ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ดี โดยเฉพาะระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ        

          สปริงเกอร์ดับเพลิง ( Sprinkler ) หรือหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) หรือระบบสปริงเกอร์นั้น คืออุปกรณ์ดับไฟหรือควบคุมไฟที่ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยเป็นระบบดับเพลิงด้วยน้ำ เมื่อมีตัวกระตุ้นความร้อนถึงอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่ออุณหภูมิของอากาศแวดล้อมสูงขึ้นหรือสูงกว่าพิกัดอุณหภูมิเฉพาะของหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ระบบดับเพลิงด้วยน้ำก็จะทำงานด้วยการกระจายน้ำให้ฉีดออกมาที่ด้านล่างของสปริงเกอร์ ซึ่งระบบสปริงเกอร์ได้รับการออกแบบให้เปิดใช้งานเมื่อตรวจพบความร้อนหรือไฟในอากาศ จากนั้นจึงฉีดน้ำไปยังพื้นที่ที่เกิดไฟ การติดตั้งระบบดับเพลิงวิธีนี้จะช่วยขจัดความร้อนออกจากแหล่งกำเนิด ระงับและควบคุมไฟภายในโครงสร้างหรืออาคาร ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเปลวไฟและลดความเสียหายจากไฟไหม้ได้อย่างรวดเร็ว หลาย ๆ สถานที่จึงเลือกใช้บริการผู้รับติดตั้งสปริงเกอร์ดับเพลิง เพราะเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

กรณีที่เกิดเพลิงไหม้ ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงหรือสปริงเกอร์จะทำงานอัตโนมัติ โดยจะช่วยลดความร้อนอย่างรวดเร็ว และดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือช่วยลดความรุนแรงของเพลิงก่อนจะลุกลามไปยังจุดอื่นๆ จนยากจะควบคุมได้ จากการทดสอบอาคารที่ไม่มีระบบสปริงเกอร์ หากเกิดเพลิงไหม้จะเกิดความสูญเสียมากกว่าอาคารที่มีระบบสปริงเกอร์หลายเท่าตัว
 
โดยแต่ละชนิดก็จะมีผลิตภัณฑ์อีกหลายแบบ แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอาคารทั่วไปเป็นแบบ Standard Spray Sprinkler, ½”orifice, K=5.6 ชนิดกะเปาะแก้ว Glass Bulb ทำงานโดยเมื่อเกิดความร้อนถึงอุณหภูมิของสปริงเกอร์ที่กำหนดไว้ โดยสีของกะเปาะแก้วจะบ่งบอกถึงอุณหภูมิทำงานของสปริงเกอร์ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล โดยในพื้นที่ทั่วไปมักจะติดตั้งสปริงเกอร์กะเปาะสีส้มหรือสีแดง ซึ่งจะทำงานที่อุณหภูมิ 135°F (57°C) หรือ 155°F (68°C)
 
แต่สำหรับพื้นที่อื่นๆ ที่อาจมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เช่น ในห้องครัว ก็จะเลือกอุณหภูมิทำงานที่สูงกว่า เช่น 200°F (93°C) เป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องเลือกรูปแบบการติดตั้งตามพื้นที่ เช่น แบบหัวคว่ำ (Pnedent), แบบหงาย (Up-right), แบบติดข้างผนัง (Side-wall) โดยผู้ออกแบบงานระบบจะสามารถคำนวณและดำเนินการออกแบบตามรูปแบบของอาคารได้
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
  Line : @FACTORIPRO
 
 ปุ่มไลน์.[2]
Visitors: 7,873