Contact Probe เลือกอย่างไร

หัววัด-Contact Probe เลือกอย่างไร ให้เหมาะสม

1. รูปทรงของหน้าสัมผัสเป้าหมาย
เนื่องจากรูปทรงของจุดที่เราจะทำการวัดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบแบน แบบกลม และแบบพิน เป็นต้น การที่จะวัดค่าทางไฟฟ้าของเป้าหมายให้ได้อย่างเสถียรและแม่นยำนั้น จำเป็นต้องเลือกรูปทรงของหัววัดให้เชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสของชิ้นงานได้อย่างมั่นคง และเหมือนเดิมทุกครั้งที่วัด โดยสามารถดูตัวอย่างของชนิดหัววัดและหน้าสัมผัสแบบต่างๆ
 
2. ระยะสโตรคในของหัววัด
ระยะสโตรคคือระยะที่หัววัดสามารถหดได้ เมื่อหัววัดกดไปที่หน้าสัมผัสในแนวแกน เพื่อให้สามารถหัววัดสามารถเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสได้อย่างสนิท และลดความเสียหายเมื่อเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัสในแต่ละครั้ง โดยระยะที่เหมาะสมในการวัดคือไม่ควรเกิน 2/3 ส่วนของระยะสโตรคสูงสุดที่หัววัดสามารถเคลื่อนที่ได้
 
3. แรงสปริงของหัววัด
แรงสปริงจะส่งผลต่อคุณภาพในการเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัส โดยหากเลือกแรงสปริงที่น้อยเกินไปอาจส่งผลให้การเชื่อมต่อไม่เสถียร ในขณะที่ หากเลือกแรงสปริงที่สูงเกินไปก็อาจทำให้การเสียหายที่หน้าสัมผัสของชิ้นงานได้ โดยหน่วยที่มักจะใช้ในการระบุแรงสปริงคือ นิวตัน หรือ กิโลกรัมฟอร์ซ (kgf)
 
4. คุณสมบัติทางไฟฟ้า
คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ต้องพิจารณาขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในวงจร ในการเลือกใช้หัววัดทางไฟฟ้า ได้แก่ แรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้(Allowable Voltage [V] ), กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้ (Allowable Current [A] ) และค่าความต้านทานทางไฟฟ้า (Resistance [Ω])
 
5. รูปแบบการใช้งานหัววัด
ชนิดของหัววัดทางไฟฟ้าที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมถูกออกแบบมาหลายชนิด เพื่อให้เหมาะกับรูปงานประเภทต่างๆ รวมไปถึงพื้นที่ในการใช้งาน เช่น หัววัดแบบ Contact Probes & Receptacle, โพรบแบบหัววัด2ด้าน (Double Tipped probe), โพรบแบบหมุน (Turn probe) และ โพรบแบบรวม (Integrated probe) เป็นต้น โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก บทความ ”ชนิดของ Probe ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม”
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
Visitors: 17,706