การแยกประเภทของอุตสาหกรรม
Tags: อุตสาหกรรม
การแยกประเภทของอุตสาหกรรม
การแยกประเภทของอุตสาหกรรม
- การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมสินค้าทุน
2. อุตสาหกรรมสินค้า
- การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิต จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมที่ 1 เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการอย่างอื่น เช่น การกสิกรรม การประมง
2. อุตสาหกรรมที่ 2 เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป เช่น การทำอาหารกระป๋อง การสีข้าว
3. อุตสาหกรรมที่ 3 เป็นกิจการด้านบริการ เช่น การขนส่ง การโรงแรม
- การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะและขนาดของกิจการ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ และเงินลงทุนสูงมาก
2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ เงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
3. อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึงอุตสาหกรรมภายในครอบครัวในบ้าน เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่
อุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยการแบ่งนั้นก็มีกฎเกณฑ์ในการแบ่งอยู่ ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง การแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมว่าใช้เกณฑ์ใดในการแบ่ง
การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมสินค้าทุน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าซึ่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ
ของโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นการทำเครื่องจักร เครื่องมือ การถลุงโลหะ อุตสาหกรรมเคมี
อุตสาหกรรมฟอกหนัง
2. อุตสาหกรรมสินค้าบริโภค หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตให้ได้ผลิตผลสำหรับประชาชน
นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป และของใช้ในครัวเรือน
การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะของการผลิต เป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมเบื้องต้น หรืออุตสาหกรรมที่ 1 เป็นการผลิตเพื่อให้ได้วัตถุดิบไปใช้ประกอบการ
อย่างอื่น เช่น การกสิกรรม การประมง การทำเหมืองแร่
2. อุตสาหกรรมที่ 2 เป็นการผลิตวัตถุสำเร็จรูป เช่น การทำอาหารกระป๋อง การสีข้าว
3. อุตสาหกรรมที่ 3 เป็นกิจการด้านบริการ เช่น การขนส่ง การโรงแรม
การแยกประเภทอุตสาหกรรมตามลักษณะและขนาดของกิจการ เป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ และ
เงินลงทุนสูงมาก เช่นอุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า
2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึงอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ตลอดจน
เงินทุนน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาล
3. อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึงอุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัวในบ้านที่อยู่อาศัย
เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ
>>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO