การเลือกใช้สวิตซ์
Tags: สวิตซ์
การเลือกใช้สวิตซ์
การเลือกใช้สวิตซ์
1. โครงสร้างของสวิตช์และรูปแบบการทำงาน
2. จำนวนของ Poles และ Throws ของ สวิตช์
3. รูปแบบหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของ สวิตช์ มีด้วยกัน 2 รูปแบบนั้นก็คือ แบบเปิดและแบบปิด
4. สวิตช์นี้ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่
5. รูปแบบของการเชื่อมต่อของสวิตช์ (Terminal shape)
6. วัสดุที่ใช้ผลิตหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า(contact plain)และขั้วต่อทางไฟฟ้า (terminal plating)
7. ช่องว่างในการติดตั้ง (Mounting hole)
8. อายุการใช้งานของสวิตช์ (life cycles)
1. โครงสร้างของสวิตช์และรูปแบบการทำงาน
2. จำนวนของ Poles และ Throws ของ สวิตช์
3. รูปแบบหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของ สวิตช์ มีด้วยกัน 2 รูปแบบนั้นก็คือ แบบเปิดและแบบปิด
4. สวิตช์นี้ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่
5. รูปแบบของการเชื่อมต่อของสวิตช์ (Terminal shape)
6. วัสดุที่ใช้ผลิตหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า(contact plain)และขั้วต่อทางไฟฟ้า (terminal plating)
7. ช่องว่างในการติดตั้ง (Mounting hole)
8. อายุการใช้งานของสวิตช์ (life cycles)
การเลือกใช้สวิตซ์
1.โครงสร้างของสวิตช์และรูปแบบการทำงาน
โครงสร้างของสวิตช์ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาการเลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตจากวัสดุอะไร วิธีการประกอบ รูปแบบการใช้งานเหมาะสม เช่น กดติดปล่อยดับ คันโยก (toggle) แบบอื่นๆ
2.จำนวนของ Poles และ Throws ของ สวิตช์
ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในพิจารณา ตัวอย่างเช่น single pole single throw (SPST) ใช้สำหรับการเปิดปิดอุปกรณ์ทั่วไป ในเครื่องจักรแต่ละส่วนย่อมมีการทำงานของสวิตช์ที่แตกต่างกันออกไป ควรพิจารณา จำนวน pole และ throw ให้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นๆ
3.รูปแบบหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าของ สวิตช์ มีด้วยกัน 2 รูปแบบนั้นก็คือ
- ปกติปิด [Normal close (NC)]
ใช้กับอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าที่ต้องการให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา
- ปกติเปิด [Normal open (NO)]
ใช้กับอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าที่ต้องการควบคุมการเปิดและปิด
4. สวิตช์นี้ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่
(4.1) สวิตช์นี้ใช้กับแหล่งจ่ายไฟรูปแบบไหน
ในการเลือกใช้งานสวิตช์ เราจำเป็นต้องพิจารณาประเภทของแหล่งจ่ายไฟก่อนว่าเป็นแบบ ไฟฟ้ากระแสตรง(DC) หรือ ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) เนื่องจากวิธีการคำนวณกำลังไฟฟ้านั้นมีข้อที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
(4.2) ความต่างศักย์(Voltage) และ แรงดันไฟฟ้า (Current)
Voltage rating หมายถึง แรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถรับได้
Current rating หมายถึง กระแสไฟฟ้าสูงสุดที่รับได้ก่อนที่หน้าสัมผัสทางไฟฟ้าจะเกิดความเสียหาย (Overheat)
5.รูปแบบของการเชื่อมต่อของสวิตช์ (Terminal shape) รูปแบบของการเชื่อมต่อสวิตซ์โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกันดังนี้
- Solder terminal ใช้เชื่อมต่อโดยการบัดกรีสายไฟเข้ากับเทอร์มินอล
- Screw terminal ใช้สกรูยึดสายไฟไม่ให้หลุดออกจากเทอร์มินอล
- Insert terminal ใช้สายไฟที่ทำการเข้าหัวแล้ว เสียบติดตั้งไปยังเทอร์มินอลของสวิตช์
- PCฺB mounting ติดตั้งสวิตช์ลงบนแผ่น print circuit board และทำการบักกรีเข้ากับแผงวงจร
6.วัสดุที่ใช้ผลิตหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า(contact plain)และขั้วต่อทางไฟฟ้า (terminal plating)
หน้าสัมผัสทางไฟฟ้าและขั้วต่อทางไฟฟ้า นิยมผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลให้ คุณสมบัติ, ราคา และการตอบสนองของสวิตช์แตกต่างกัน ตัวอย่างวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการทำหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า มีดังนี้
(6.1)ทองคำ
ทองคำนิยมนำมาใช้ทำหน้าสัมผัสทางไฟฟ้า มักใช้ในอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำ (mA) ตัวอย่างเช่น ขาไมโครคอนโทรลเลอร์ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทองคำถูกนำมาใช้ก็คือ มีโอกาสเกิดสนิมบนหน้าสัมผัสได้ยาก เมื่อเทียบกับเงิน
(6.2) เงิน
เงินมักใช้ในอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง (Amp) ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟฟ้า สาเหตุที่เงินถูกนำมาใช้ในการนำไฟฟ้า เพราะว่าเงินมีราคาที่ถูกกว่าและมีโอกาสที่เกิดสนิมได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทองคำ นอกจากนี้เงินมีความต้านทานทางไฟฟ้าต่ำ ซึ่งส่งผลให้นำไฟฟ้าได้ดี สาเหตุหนึ่งที่ทองคำไม่นิยมนำมาทำหน้าสัมผัสให้กับสวิตช์ที่กินกำลังไฟฟ้าสูงนั้นก็คือ เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ผิวสัมผัสที่เท่ากันระหว่างเงิน จะพบว่าราคาของทองคำนั้นแพงกว่าอย่างเห็นได้ชัด
7.ช่องว่างในการติดตั้ง (Mounting hole)
ช่องว่างในการติดตั้งถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นรูของช่องที่ทำการเจาะ ความหนาของพาแนล ที่ติดตั้งและรูปแบบการประกอบ ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้สามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจากแคตตาล็อกสินค้าของแต่ละยี่ห้อ
8.อายุการใช้งานของสวิตช์ (life cycles)
อายุการใช้งานนับเป็นข้อสำคัญในการพิจารณา ในบางครั้ง การเลือกสวิตช์ ที่มีคุณภาพต่ำอาจจะช่วยประหยัดเงินให้กับโปรเจค ได้แต่การบำรุงรักษาและการเปลี่ยนสวิตช์อาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า ในบางครั้งรูปแบบของสวิตช์ก็มีผลต่ออายุการใช้งานด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สวิตช์แบบกดติดปล่อยดับ (momentary) มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า สวิตช์แบบกดแล้วอยู่ตำแหน่งเดิม (maintained)
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO