การเลือกใช้สายพานลำเลียง

การเลือกใช้สายพานลำเลียง

1.วัสดุหรือชิ้นงานที่จะลำเลียง (Work Piece)
2.ปริมาณการผลิตที่ต้องการ (Capacity)
3.ทิศทางหรือลักษณะการลำเลียง (Direction)
4.สภาพแวดล้อมที่ใช้งาน (Environment)

     สายพานลำเลียง (Belt Conveyor) เป็นอุปกรณ์ลำเลียงที่นิยมใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม สามารถลำเลียง เคลื่อนย้าย หรือขนส่งวัสดุได้หลากหลายประเภท โดยวัสดุจะวางบนสายพานซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำพาทำให้สามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้

     การเลือกใช้สายพานลำเลียงเพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดและเหมาะสมต่อการใช้งานในรูปแบบต่างๆมีหัวข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
1.วัสดุหรือชิ้นงานที่จะลำเลียง (Work Piece)
สิ่งแรกที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้สายพานลำเลียง คือ ประเภทของวัสดุหรือชิ้นงานที่ต้องการจะลำเลียงนั้นคืออะไร มีขนาดและรูปทรงอย่างไร เหมาะกับการลำเลียงลักษณะไหน รวมถึงวัสดุหรือชิ้นงานนั้นมีกระบวนการอื่นๆมาเกี่ยวข้องในขณะลำเลียงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลต่อการออกแบบชนิดและขนาดของสายพานลำเลียง
 
2.ปริมาณการผลิตที่ต้องการ (Capacity)
โดยทั่วไปแล้วปริมาณการผลิต คือสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดรายละเอียด (Specification) ของเครื่องจักร สำหรับสายพานลำเลียงการกำหนดกำลังการผลิตจะช่วยให้เกิดการออกแบบที่มีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งส่งผลต่อขนาดความกว้างและยาวของสายพาน ขนาดโครงสร้างที่ใช้รับน้ำหนักรวมถึงค่าความเร็วในการเคลื่อนที่ของสายพาน เป็นต้น
 
3.ทิศทางหรือลักษณะการลำเลียง (Direction)
สำหรับไลน์ผลิตทั่วไปสายพานลำเลียงอาจมีได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่หน้างานและความจำเป็นในการใช้สายพานลำเลียงกับกระบวนการผลิตนั้นๆ เช่น การลำเลียงแนวราบตรง การลำเลียงแนวเอียงขึ้นหรือเอียงลง การลำเลียงแนวโค้ง หรือการลำเลียงแบบเกลียวแนวตั้ง เป็นต้น
 
4.สภาพแวดล้อมที่ใช้งาน (Environment)
สภาพแวดล้อมที่จะนำสายพานลำเลียงไปใช้เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากจะส่งผลต่ออายุและยังประสิทธิภาพการใช้งานของสายพานลำเลียงไม่ว่าจะเป็นตัวสายพาน โครงสร้าง หรือส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ควรเลือกใช้วัสดุสเตนเลสในสถานที่ที่มีความชื้น มีการกัดกร่อน หรือบริเวณที่เน้นเรื่องความสะอาดในอุตสาหกรรมอาหารและยา หรือการเลือกใช้วัสดุเคลือบผิวสายพานเป็นยาง NBR เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปิโตเลียมและน้ำมันหล่อลื่นทั่วๆไป

 

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO

ไลน์ Line FactoriPro

Visitors: 17,708