การบำรุงรักษาเครื่องจักรเบื้องต้น

การบำรุงรักษาเครื่องจักรเบื้องต้น

1.การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) เป็นวิธีการธรรมดาที่สุดและมีข้อจำกัดที่เห็นได้ชัด และในทุกๆ อุตสาหกรรมยังใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาแบบนี้อยู่ โดยจะดำเนินการก็ต่อเมื่ออุปกรณ์เสียหายทำให้ต้องหยุดเครื่องจนไม่สามารถทำการผลิตได้ หรือเกิดข้อขัดข้องเสียหายในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้มาก่อน และเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ต้องหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย
 
2.การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) โดยทั่วไประยะเวลาการทำ PM ดังกล่าวสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของเครื่องจักรจากผู้ผลิต หรือจากประวัติของเครื่องจักรที่ผ่านมา เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ไส้กรอง, และอื่นๆ
 
3.การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition-based maintenance: CBM) โดยอาศัยสัญญาณเตือนจากเครื่องจักรซึ่งโดยทั่วไปเครื่องจักรจะมีสัญญาณเตือนก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายเช่น ความร้อน, เสียง, การสั่นสะเทือน เป็นต้น หากเราสามารถตรวจสอบสันญาณเตือนจากเครื่องจักรได้เราก็สามารถที่จะกำหนดการบำรุงรักษาที่จำเป็นก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายได้ ซึ่งจะทำให้เราลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ได้อย่างเหมาะสมตามสภาพและเวลา กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้อมูล เหล่านี้เป็นต้น
 
4.การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) หรือที่เรียกว่า Design out Maintenance หรือ Precision Maintenance คือการแก้ปัญหาที่สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องจักรเสียหาย และทำการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าเพื่อลดโอกาสการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรซึ่งจะทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นเมื่อถูกนำไปใช้งาน อีกทั้งการบำรุงรักษาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสามวิธีไม่สามารถทำให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น เพียงแต่เป็นมาตรการที่ทำให้เครื่องจักรใช้งานได้นานที่สุดตามที่ผู้ผลิตได้ออกแบบไว้ ข้อดีของการบำรุงรักษาแบบเชิงรุกคือ อายุการใช้งานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง, ลดความเสียหายที่เกิดกับเครื่องจักร
 
" เพียงแค่เรารวบรวมข้อมูลและทำการแก้ไขในส่วนที่กำลังจะเกิดปัญหาเท่านี้เราก็สามารถยืดอายุการใช้งานเครื่องจักรของเราได้แล้วครับ "
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
Visitors: 7,872