การใช้งาน บล็อกลม
การใช้งาน บล็อกลม อย่างถูกวิธี
บล็อกลม (Air Impact Wrench) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันน็อตให้แน่น และการคลายน็อตให้หลวมโดยใช้แรงลมเป็นตัวขับเคลื่อนซึ่งต้องทำงานควบคู่กับปั๊มลม บล็อกลมยังมีน้ำหนักเบา และใช้งานง่ายจึงทำให้ความเมื่อยล้าจากการทำงานน้อยลง บล็อกลมสามารถใช้ในงานประกอบ งานผลิต งานซ่อมบำรุง หรือตามศูนย์บริการ และตามอู่ต่าง ๆ
สิ่งที่คุณต้องเตรียมพร้อม แน่นอนว่าต้องเป็น บล็อกลม และจะต้องใช้คู่กับ ปั๊มลม ซึ่ง ปั๊มลม จะเป็นตัวจ่ายลมผ่านสายลมที่เชื่อมต่อระหว่าง ปั๊มลม กับ บล็อกลม เพื่อให้ บล็อกลม สามารถทำงานได้
ก่อนอื่นคุณจะต้องเช็คสเปคของ บล็อกลม เกี่ยวกับปริมาณลมที่ใช้ (CFM) เพื่อจะได้คำนวณค่าความดันลมที่ต้องการ ควรเลือก ปั๊มลม ที่มีค่า CFM สูงกว่าค่า CFM ของ บล็อกลม จะดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ บล็อกลม ของคุณทำงานได้ต่อเนื่องดีกว่าใช้ ปั๊มลม ที่มีค่า CFM น้อย
ตัวอย่าง ถ้าต้องใช้ บล็อกลม U-Tools รุ่น U-845 ที่มีค่าปริมาณลมที่ใช้ 12.36 CFM ที่แรงดันลม 90 PSI คุณควรเลือก ปั๊มลม ที่มีค่ามากกว่า 12.36 CFM ขึ้นไป
และอย่าลืมสายลมเอาไว้เชื่อมต่อ ปั๊มลม กับ บล็อกลม ด้วยนะครับ หรือจะลองใช้ตลับเก็บสายลมก็ได้นะครับ เพราะตลับเก็บสายลมช่วยให้พื้นที่ทำงานเป็นระเบียบและยังสะดวกกับการใช้งานได้ด้วยครับ
2. ข้อต่อคอปเปอร์ และการตั้งค่าต่างๆ
ข้อต่อคอปเปอร์
ก่อนอื่นคุณจะต้องต่อข้อต่อคอปเปอร์เข้ากับ ข้อต่อคอปเปอร์ของ บล็อกลม ให้แน่น คุณอาจจะต้องใช้เทปพันรอบๆข้อต่อบริเวณด้านสายลมของ ปั๊มลม (compressor output) เพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วของอากาศ
ตรวจสอบ ปั๊มลม
สิ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามอีกข้อ คืออย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าปั๊มลมพร้อมใช้งานแล้ว จากนั้นเสียบปลั๊กไฟของ ปั๊มลม ซึ่งความดันอากาศจะสูงขึ้นไปจนถึงลิมิตของความดันอากาศสูงสุดที่ตั้งค่าไว้ โดยปกติแล้ว แรงดันสูงจะเป็นการตั้งค่าเริ่มต้นจากโรงงาน ตามคุณสมบัติ Max. 125-150 PSI ให้ดูแรงดันปกติแล้วปรับจนกระทั่งแรงดันอยู่ที่ 90 PSI
มาถึงจุดที่สำคัญ คือ การทดสอบการทำงานของ บล็อกลม นะครับ ก่อนจะใช้งานเราก็ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่า "บล็อกลม ทำงานได้ปกติหรือไม่" ทดสอบโดยกดปุ่มทำงาน แล้วปล่อยปุ่ม จากนั้นปรับค่าแรงบิด หรือที่เรียกว่าทอร์ก เพื่อให้เหมาะกับขนาดของน็อต และทดลองกดปุ่มทำงานอีกครั้ง หากต้องการคลายน็อตให้ทดสอบโดยกดสวิตซ์ทำงาน แล้วสังเกต Square หรือหัวจับ หมุนทวนเข็มนาฬิกา(หมุนซ้าย) ในทางกลับกันหากต้องการขันน็อตให้แน่น ให้ทดสอบว่า Sauare หมุนตามเข็มนาฬิกา(หมุนขวา) จะเห็นว่าวิธีการทดสอบการทำงานของ บล็อกลม ไม่ได้ยากเลยครับ
4. การใช้บล็อกลมถอดน็อต หรือขันน็อตให้แน่น
หลังจากที่เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์แล้ว ทีนี้เรามาดูการใช้งาน บล็อกลม เพื่อขันน็อตหรือถอดน็อตกันเลยครับ ก่อนอื่นคุณจะต้องเลือกใช้ socket หรือที่เรียกว่า ลูกบล็อก ซึ่งจะต้องเลือกขนาด ลูกบล็อก ที่เข้ากันกับ บล็อกลม ที่เราใช้งาน และจะต้องเหมาะกับน็อตด้วยนะครับ นำ ลูกบล็อก ใส่เข้าไปใน บล็อกลม ให้ตรงตำแหน่ง pin (กรณี บล็อกลม รุ่นที่มี pin) แล้วกด ลูกบล็อก ซึ่ง ลูกบล็อก จะถูกล็อคอัตโนมัติ
กรณีถอดน็อต
หมุนสวิตซ์หมุนบน housing ของ บล็อกลม เพื่อเปลี่ยนทิศทาง อย่างที่เราทดสอบกันในข้างต้นเลยนะครับ (Square หมุนซ้าย) จากนั้นสามารถใช้ บล็อกลม กับน็อตที่ต้องการถอดได้เลยครับ โดยหัน บล็อกลม ด้านที่มี ลูกบล็อก สวมเข้าที่น็อตที่ต้องการถอด แล้วกดปุ่มทำงานครับ
กรณีขันน็อตให้แน่น
อย่าลืมว่าจะต้องปรับสวิตซ์ของการหมุนของ บล็อกลม ด้วยนะครับ (Square หมุนขวา) ทีนี้ก่อนใช้ บล็อกลม ให้หมุนน็อตตัวนั้นด้วยมือก่อน เพื่อให้น็อตเข้าเกลียวก่อนนะครับ จากนั้นจึงใช้ บล็อกลม ในการขันน็อตให้แน่นครับผม
เมื่อเราตั้งค่า บล็อกลม และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว การทำงานของคุณก็จะราบเรียบ และที่สำคัญเมื่อไหร่ก็ตามที่เราใช้งานเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆอย่างถูกวิธี นอกจากงานสำเร็จแล้ว ปัญหาอุบัติเหตุในการทำงานหรือเครื่องมือเสียหายก็จะลดน้อยลงด้วย
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO