7 พลาสติกวิศวกรรมที่สามารถใช้กับอาหาร

7 พลาสติกวิศวกรรมที่สามารถใช้กับอาหาร

7 Engineering Plastics That Can Be Used in Food

" 7 พลาสติกวิศวกรรมที่สามารถใช้กับอาหาร "
1. PE300 หรือ HDPE
2. PE500 หรือ HMWPE
3. PE1000 หรือ UHMWPE
4. เทปล่อน หรือ PTFE
5. PP หรือ โพลีโพไพลีน
6. Pom Delrin หรือ โพลีอซิเดท
7. PET หรือ โพลีเอทิลิน

     พลาสติกไม่ใช่ว่าจะมาใช้งานร่วมกับอาหารได้ทั้งหมด เพราะอาจะก่อให้เกิดสารปนเปื้อนได้ ซึ่งวันนี้ FactoriPro จะมานำเสนอพลาสติก 7 ชนิดที่ใช้กับอุตสาหกรรมอาหารได้

1. PE300 หรือ HDPE

      พลาสติกชนิดนี้ เป็น Thermoplastic มีสีขาวและสีดำ คุณสมบัติที่โดดเด่นคือ ทนแรงกระแทกได้ดี ใช้งานในอุณภูมิสูงที่ 110 องศาได้ และใช้งานในอุณภูมิติดลบที่ -45 องศาได้โดยไม่เสียรูป ทนต่อกรดและด่างได้ดี การใช้งานส่วนใหญ่ในเชิงอุตสาหกรรม มักจะใช้เป็นเขียงในอุตสาหกรรมอาหาร หรือเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักร ถ้าในครัวเรือน จะพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ เขียงหั่นอาหารที่แทบทุกบ้านต้องมี
ข้อสังเกต อีกอย่างเมื่อเลือกใช้งาน PE300 คือ ติดไฟง่าย และ ลามไฟควรระมัดระวังเมี่อต้องใช้งาน

2. PE500 หรือ HMWPE

      พลาสติกชนิดนี้ มีความทนทานต่อการสึกหรอ และแรงกระแทกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ HDPE มีความแข็งแรงทนต่อสารเคมีและอุณภูมิต่ำได้ดีเยี่ยม มีการดูดซึมความชื้นต่ำมาก ใช้งานในอุณภูมิสูงที่ 110 องศาได้ และ ใช้งานในอุณภูมิติดลบที่ -45 องศา ทนต่อกรดและด่างได้ดี มีสีขาว ดำ และเขียวให้เลือกใช้ค่ะ สำหรับการใช้งานส่วนใหญ่ในเชิงอุตสาหกรรม จะใช้ทำเขียงลองปั้ม ชิ้นส่วนเครื่องจักร เฟือง บูช เป็นต้น
ข้อสังเกต อีกอย่างเมื่อเลือกใช้งาน PE500 คือ ติดไฟง่าย และ ลามไฟ ควรระมัดระวังเมี่อต้องใช้งาน

3. PE1000 หรือ UHMWPE

      พลาสติกชนิดนี้ เป็น Thermoplastic ลื่นมากกว่า HDPE บางกรณีสามารถใช้แทนที่ PTFE ได้ เหนียวกว่า PE300 หรือ PE500 รับแรงกระแทกได้สูงกว่า PE300 หรือ PE500 ทนต่อสารเคมี กรด ด่าง แอลกอฮอล์ได้ดี ใช้งานในอุณภูมิสูงที่ 110 องศาได้ และ ใช้งานในอุณภูมิติดลบที่ -45 องศา มีสีขาว ดำ เขียว น้ำเงิน เหลือง ให้เลือกใช้งาน สำหรับการนำไปใช้งาน ส่วนใหญ่ในเชิงอุตสาหกรรม จะใช้ทำเป็นเขียงในอุตสาหกรรมอาหาร ปะเก็น, แหวน, บูช, ชิ้นส่วนเครื่องจักร เป็นต้น
ข้อสังเกต อีกอย่างเมื่อเลือกใช้งาน PE1000 คือ ติดไฟง่าย และ ลามไฟ ควรระมัดระวังเมี่อต้องใช้งาน

4. เทปล่อน หรือ PTFE

       พลาสติก เทปล่อน มีความโดดเด่นเรื่องของการทนความร้อนค่ะ ซึ่งจะทนร้อนได้ถึง 260 องศา แต่เมื่อต้องใช้งานในอุณภูมิติดลบก็สามารถทนได้ถึง -200 องศาเลยค่ะ มีความลื่น ความเสียดทานต่ำ ที่สำคัญทนสารเคมีและตัวทำละลายได้ดี อีกทั้งยังเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย สำหรับการนำเทปล่อนไปใช้งานส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในอุตสหกรรมที่มีความร้อนสูง อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมอาหาร ยกตัวอย่างเช่น ทำเป็นปะเก็น แหวน โอริง งานซีล หรือแม้กระทั่งใบกวน เป็นต้น

5. PP หรือ โพลีโพไพลีน

       พลาสติกชนิดนี้ มีความโดดเด่นเรื่องของการทนสารเคมี มีความเหนียวไม่แตกหักง่าย ทนอุณภูมิระยะยาวได้ถึง 100 องศา ที่สำคัญพลาสติก PP สามารถนำมาดัด โค้ง พับ งอ ได้โดยใช้เครื่องทำความร้อน และสามารถเชื่อมติดได้ได้ด้วยลวดเชื่อมพีพีค่ะ สำหรับการนำไปใช้งาน นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมอาหาร ยกตัวอย่างเช่น นำมาเชื่อมเป็นบ่อชุมสารเคมี นำมาทำเป็นถังบรรจุสารเคมี ถ้าในอุตสาหกรรมอาหารนิยมนำมาทำเป็นเขียงนั้นเอง

6. Pom Delrin หรือ โพลีอซิเดท

       พลาสติกชนิดนี้ มีความโดดเด่นเรื่องของ ความแข็งแรง ทนต่อการสึกกร่อนได้ดีมาก ๆ มีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทก รวมถึงทนต่อตัวทำละลายอีกด้วยค่ะ ทนอุณภูมิสูงที่ 110 องศา และทนเย็นได้ที่ -50 องศา การนำไปใช้งาน นิยมใช้ผลิตเป็นชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมอาหารและยา ยกตัวตัวอย่างเช่น นำไปขึ้นรูปเป็นจิ๊กฟิกเจอร์ ปะเก็น แหวน บูช หรือแม้กระทั่งผลิตเป็นเฟืองขับเคลื่อน

7. PET หรือ โพลีเอทิลิน

     หลาย ๆ ท่านอาจไม่ค่อยได้ยินชื่อพลาสติกชนิดนี้เท่าไหร่นัก ส่วนคุณสมบัติ เพ็ท เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวสูง รับแรงกระแทกได้ดีเยี่ยม ทนสารเคมี จำพวกตัวทำละลายได้ดี ทนกรดแต่ไม่ทนด่าง ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซได้ดี มีความปลอดภัยสามารถนิยมใช้ในอุตสหกรรมอาหาร และยาค่ะ การนำไปใช้งานที่จะเห็นได้บ่อย ๆ เลยก็คือ การผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารนั่นเอง
 
      >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
 
 
 
 
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO
 
ไลน์ Line FactoriPro
Visitors: 7,873