5 เหตุผลที่ผู้ประกอบการ ควรลงทุนในเทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ 4.0
5 เหตุผลที่ผู้ประกอบการ ควรลงทุนในเทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ 4.0
5 เหตุผลที่ผู้ประกอบการ ควรลงทุนในเทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ
1. เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
2. เทคโนโลยี 5G พร้อมแล้ว ต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่
3. ช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์
4. ง่ายต่อการบริหารจัดการและสามารถแสดงรายงานแบบเรียลไทม์
5. ได้รับสิทธิประโยชน์แบบเต็มๆ จากบีโอไอ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
5 เหตุผลที่ผู้ประกอบการ ควรลงทุนในเทคโนโลยีโรงงานอัจฉริยะ 4.0
1. เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โรงงานที่คลาคล่ำไปด้วยเครื่องจักรหลากชนิด ต่างประเภท และทำหน้าที่แตกต่างกันนั้น มักจะสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบการ เพราะความหลากหลายที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องดี กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตต่างๆ เข้าด้วยกัน เพราะกระบวนการนี้มีความซับซ้อน หากขาดโซลูชั่นที่ดี ข้อมูลอาจยุ่งเหยิง หรือเลวร้ายสุดอาจถึงขั้นแปลผลผิดพลาด ซึ่งนั่นจะนำความเสียหายมาสู่ระบบการผลิตโดยรวมได้
2. เทคโนโลยี 5G พร้อมแล้ว ต้องใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ น่าเสียดายหากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมหลายรายยังเมินเฉยที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีการขยายเครือข่าย 5G มากเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นรองก็แต่เพียงเกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกาเท่านั้น (ข้อมูลจาก Open Signal) เพราะ 5G ช่วยให้การใช้งานที่มีการเชื่อมต่อของอุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกันเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังช่วยสนับสนุนให้กระบวนการควบคุมเครื่องจักรกับเครื่องจักร (M2M) สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนด้านแรงงาน และช่วยลดความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการการผลิตด้วย
3. ช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์ จากการที่กระบวนการต่างๆ ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และดำเนินการโดยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำให้เกิดความแม่นยำ โดยใช้ระยะเวลาในการทำงานที่สั้นลง และหากโซลูชั่นนั้นได้รับการออกแบบที่ดีพอ การทำงานในแต่ละขั้นตอนก็จะถูกตรวจสอบ เพื่อให้สามารถประเมิน และแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
4. ง่ายต่อการบริหารจัดการและสามารถแสดงรายงานแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับบรรดาซัพพลายเออร์ และเครือข่ายโรงงานทั่วโลกได้ ทำให้การดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น โอกาสในการปิดดีลได้ก็เร็วขึ้น
5. ได้รับสิทธิประโยชน์แบบเต็มๆ จากบีโอไอ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 มูลค่าอุตสาหกรรม 4.0 ทั่วโลกในปี 2563 อยู่ที่ 90,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 219,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2569 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 16.5% (ข้อมูลจากGlobal Industry Analysts) แต่ทราบหรือไม่ว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยมากถึง 70% ยังอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 2.0 หรือต่ำกว่า และมีเพียง 28% เท่านั้นที่อยู่ในระดับอุตสาหกรรม 3.0 (ข้อมูลจากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการสนับสนุนการยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้ได้
จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO