5 โรคที่มากับฤดูฝน

5 โรคที่มากับฤดูฝน

5 diseases that come with the rainy season

5 โรคที่มากับฤดูฝน
1.โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร
2.โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง 
3.โรคระบบทางเดินหายใจ
4.โรคติดต่อที่เกิดจากยุง
5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง

     ในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศที่ชื้นและการสะสมของน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เชื้อโรคและพาหะนำโรคเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การรู้เท่าทันและป้องกันโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝนจึงเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้ FactoriPro จะอธิบายถึง 5 โรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน

1.โรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร

     โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารที่ลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ ปวดบิดในท้อง และหากติดเชื้อบิดอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้

2.โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง 

     โรคไข้ฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิสผู้ป่วยมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง ตาแดง ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อคได้

3.โรคระบบทางเดินหายใจ

     โรคหวัดไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม ปัจจุบันมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ H1N1 และโรคไข้หวัดนกที่มีแหล่งแพร่ระบาดมาจากสัตว์ปีก เชื้ออาจมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ในช่วงระบาดในฤดูฝนได้

4.โรคติดต่อที่เกิดจากยุง

     ไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ในระยะแรกจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการปวดกระดูกมาก ไข้สูงประมาณ 2-7 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง อาจมีเลือดออกผิดปกติ มือเท้าเย็น หรือช็อคได้

5.โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง

     เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา
 
     ในฤดูฝน ความเสี่ยงในการเจ็บป่วยเพิ่มสูงขึ้นจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และโรคที่มีพาหะนำโรคอย่างยุง รวมถึงการติดเชื้อที่เกิดจากการสัมผัสน้ำปนเปื้อนและโรคติดต่อทางผิวหนัง การป้องกันที่ดีควรรักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อโรค และดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยในช่วงฤดูฝน
 

     >>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่

Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com

 

เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
 Line : @FACTORIPRO

ไลน์ Line FactoriPro

Visitors: 7,873