3 ข้อสำคัญ...การดูแลอาคารสูงในกรุงเทพฯ
3 ข้อสำคัญ...การดูแลอาคารสูงในกรุงเทพฯ
ข้อสำคัญการดูแลอาคารสูงในกรุงเทพฯ
1.การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
2.ความปลอดภัยของระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
3.การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนอาคารที่มีความสูงมากกว่า 150 เมตร มากเป็นอันดับ 10 ของโลก ดังนั้นการสร้างก็ต้องได้มาตรฐานในการก่อสร้างมีความแข็งแรงตามหลักวิศวกรรม โดยเราเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อาทิ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ลิฟต์ตก ตึกถล่ม หรืออาคารทรุดตัวโดยเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้คุณภาพ จากภัยพิบัติตามธรรมชาติ หรือการดูแลระบบอาคารไม่ได้คุณภาพทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ดังนั้นเราจะนำเสนอการดูแลตึกสูงในกรุงเทพ
ข้อสำคัญการดูแลอาคารสูงในกรุงเทพฯ
1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร เป็นสิ่งสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้อาคารและประชาชนโดยรอบอาคาร เพราะหากอาคารขาดความแข็งแรงปลอดภัย จะทำให้อาคารเกิดการโค่นหรือทรุดตัว และพังทลายลงมาในที่สุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของอาคารเกิดความเสียหายนั้นอาจเกิดได้จากการที่อาคารดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ ที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือมีการต่อเติม ดัดแปลงอาคารที่มีอยู่เดิม และเกิดจากการขาดการบำรุงรักษาอาคารอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง
2. ความปลอดภัยของระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร เช่น ระบบลิฟต์ ระบบบันไดเลื่อน ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบประปา ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย มีความสําคัญเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร
ซึ่งการดูแล/บำรุงรักษาระบบจำเป็นที่จะต้องใช้วิศวกร/ผู้ชำนาญการเป็นผู้เข้ามาดำเนินการ ตัวอย่าง เช่น การดูแล/บำรุงรักษาระบบปั๊มน้ำดับเพลิง นอกจากการดูแลตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะต้องมีการทดสอบเดินเครื่องอย่างน้อย 30 นาทีในทุกสัปดาห์ และยังต้องมีแผนการบำรุงรักษาประจำปีทำการทดสอบสมรรถภาพเครื่องด้วยการวัดค่าแรงดันการจ่ายน้ำและปริมาณน้ำที่จ่ายในพื้นที่ต่างๆ จนครบถึง 100% การตรวจสอบระบบ HVAC (Heating Ventilation and Air Conditioning) ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (อุณหภูมิ, ความชื้น, air flown และ ระบบการกรองของอากาศ) เพื่อให้อากาศในอาคารมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ รวมถึงสามารถช่วยประหยัดพลังงานและทำให้อาคารใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
3. การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร โดยเฉพาะระบบป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์ต่างๆ ผู้ดูแลอาคารต้องมีการจัดทำแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร และแผนการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัยในอาคาร อาทิ เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉินต้องชัดเจน ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องทำงานได้ปกติ บันไดหนีไฟและทางหนีไฟจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
และรวมถึงจะต้องจัดให้มีการตรวจวัดค่าแรงดันของอากาศที่อยู่ภายในบันไดทั้งขณะเปิดและปิดประตูเป็นไปตามค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับระบบจ่ายไฟสำรองฉุกเฉิน (Generator) จะต้องทำงานทันทีเมื่อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ และทำงานต่อเนื่องได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง เป็นต้น
>>ทั้งนี้ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการอาคาร ที่ต้องทำการดูแลและตรวจสอบอาคารตามระยะเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งส่งผลรายงาน ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงอาคารให้เจ้าของอาคารทราบอย่างสม่ำเสมอ <<
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO