3 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
3 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
3 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
(1.)ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ
1.1 การดักด้วยตะแกรง (Screen)
1.2 การกำจัดตะกอนหนัก (Grit Removal)
1.3 การกำจัดน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease Removal)
(2.)ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี
2.1 การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation)
2.2 การทำให้เป็นกลาง (Neutralization)
2.3 การทำลายเชื้อโรค (Disinfection)
(3.)ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
3.1 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (Aerobic Wastewater Treatment)
3.2 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Wastewater Treatment)
โรงงานอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งสถานที่ที่ปล่อยน้ำเงินออกมาจำนวนมาก จึงบางโรงงานก็มีการลักลอบปล่อยน้ำเสีย ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยการปล่อยน้ำเสียนั้นเป็นผลเสียทั้งสิ่งแวดล้อมและผลเสียนั้นจะวนมาถึงมนุษย์อยู่ดี ดังนั้นตอนนี้ ทุกโรงงานจึงมีการรณรงค์ให้มีการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งวันนี้เรามาดูเรากันว่า ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานมีอะไรบ้าง
3 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
1.ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ
ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ เป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นที่จำเป็นต้องมี ระบบนี้จะใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการแยกสิ่งเจือปนจำพวกเศษขยะ หรือสารแขวนลอยที่สามารถดักจับได้ออกไปจากน้ำ เช่น ทราย กรวด เศษไม้ เศษกระดาษ ไขมัน คอนกรีต น้ำโคลน น้ำแป้งมัน เป็นต้น ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้พลังงานในการดำเนินการไม่มากและมีอยู่หลากหลายวิธี แต่บทความนี้ขอแนะนำ 3 วิธีการสำคัญ ดังนี้
- 1.1 การดักด้วยตะแกรง (Screen) : วิธีการนี้จะใช้ตะแกรงดักจับเศษขยะและกากต่างๆ ที่ไหลมากับน้ำเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษเหล่านั้นไหลไปติดกับเครื่องจักรที่ใช้ในขั้นตอนการบำบัดลำดับต่อไป โดยสิ่งสำคัญคือต้องเลือกใช้ตะแกรงให้เหมาะสมกับขนาดของสิ่งที่จะดัก หากมีขนาด 25 มิลลิเมตรขึ้นไป ให้ใช้ตะแกรงแบบหยาบ แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 2 – 6 มิลลิเมตร ให้ใช้ตะแกรงแบบละเอียด
- 1.2 การกำจัดตะกอนหนัก (Grit Removal) : สำหรับสิ่งเจือปนที่ไม่สามารถลอยมาตามน้ำได้อย่างก้อนกรวด หิน ดิน ทราย หรือโลหะต่างๆ จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตกตะกอนแทน โดยใช้ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถังตกตะกอนรูปวงกลม และถังกำจัดตะกอนหนักแบบระบบเป่าอากาศ
- 1.3 การกำจัดน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease Removal) : วิธีการที่ง่าย สะดวก และได้รับความนิยมมากที่สุดในการกำจัดน้ำมันและไขมัน คือการสร้างบ่อดักไขมันขึ้นมา และใช้แรงงานคนในการเก็บกวาดและตักออกเป็นประจำทุกวัน
2.ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี
ระบบบำบัดน้ำเสียลำดับต่อมา คือระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี ระบบนี้สามารถรับมือกับน้ำเสียได้หลากหลายรูปแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพน้ำเสียที่ต้องการบำบัด อย่างไรก็ตามการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบนี้ยังไม่ถือว่าสิ้นสุดกระบวนการ เนื่องจากยังมีสารอินทรีย์หลงเหลืออยู่ จึงควรส่งต่อไปบำบัดด้วยระบบชีวภาพ โดยบทความนี้ขอแนะนำ 3 วิธีที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
- 2.1 การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation) : หากสังเกตจะเห็นได้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่มักจะทำให้ทุกอย่างตกตะกอนแยกออกจากน้ำเสมอ วิธีการนี้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้สิ่งเจือปนในน้ำเสียตกตะกอนออกมาได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่การใช้เครื่องมือแบบระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ แต่เป็นการเติมสารเคมีลงไปในน้ำเพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนจำพวกสารแขวนลอยที่มีประจุลบอย่างดินเหนียว สีจากโรงงานฟอกย้อม และโลหะหนักแทน ซึ่งสารเคมีที่ใช้จะต้องมีประจุบวกอย่างสารส้ม และเกลือเหล็ก ถ้าเลือกใช้ระบบนี้แนะนำให้ใช้เกลือเหล็ก เพราะมีราคาถูก และใช้ปริมาณน้อยกว่าสารส้ม แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพไม่ต่างกัน
- 2.2 การทำให้เป็นกลาง (Neutralization) : การจะส่งต่อน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี ไปบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ น้ำเสียจะต้องมีค่า Ph ที่เหมาะสมคือต้องอยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 หรือถ้าต้องการปล่อยออกสู่ธรรมชาติค่า Ph ต้องอยู่ในช่วง 4 -9 เพราะฉะนั้นหากน้ำเสียมีค่าความเป็นด่างมากเกินไป สามารถเติมโซดาไฟ (NaOH) ปูนขาว (CaO) หรือ แอมโมเนีย (NH3) เพื่อปรับสมดุลให้เป็นกลางได้ และถ้ามีความเป็นกรดมากเกินไปก็ให้เติมสารเคมีอย่างกรดกํามะถัน (H2SO4) กรดเกลือ (HCL) หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นต้น
- 2.3 การทำลายเชื้อโรค (Disinfection) : เชื้อโรคและแบคทีคืออีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่ธรรมชาติได้ ซึ่งการจะกำจัดเชื้อโรคในน้ำเสียได้จะต้องใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมีเป็นตัวจัดการ โดยการเติมคลอรีน สารประกอบคลอรีน หรือสารประกอบฟีนอลลงไปในน้ำเสีย
3.ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
มาถึงระบบบำบัดน้ำเสียระบบสุดท้ายที่จะแนะนำในบทความนี้ นั่นก็คือระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่จะเข้ามาช่วยบำบัดน้ำเสียต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพกับทางเคมีที่ไม่สามารถกำจัดสารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำเสียออกไปอย่างครบถ้วนได้ โดยหัวใจหลักของระบบนี้คือการเลี้ยง“จุลินทรีย์” ในน้ำเสีย ให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมแบบคงที่ เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ จากนั้นก็เปลี่ยนให้กลายเป็นตะกอนแล้วแยกตัวออกจากน้ำไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
- 3.1 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (Aerobic Wastewater Treatment) : กระบวนการนี้จะต้องใช้ออกซิเจนอิสระ (Dissolved Oxygen) เป็นตัวละลายน้ำให้กับจุลินทรีย์ จากนั้นจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำแล้วเปลี่ยนให้เป็นฟล็อก (Biological Flocculation) แล้วตกตะกอนแยกออกจากน้ำไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งระบบบ่อเติมอากาศ ระบบแคติเวตเตดสลัดจ์ และระบบแผ่นหมุนชีวภาพ เป็นต้น
- 3.2 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Wastewater Treatment) : กระบวนการนี้จะต้องทำให้น้ำอยู่ในสภาวะสุญญากาศ ซึ่งจุลินทรีย์ในกระบวนการนี้จะใช้สารประกอบอื่นเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจน ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะทำให้เกิดแบคทีเรียขึ้นมา 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สร้างกรดและกลุ่มที่สร้างมีเทน ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองกลุ่มนี้จะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ภายในน้ำเสีย โดยสิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมให้ดีคือคือสภาวะแวดล้อมและค่า PH ให้เหมาะสมกับแบคทีเรียทั้งสองกลุ่ม ไม่อย่างนั้นแบคทีเรียทั้งสองกลุ่มจะไม่สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ โดยระบบนี้สามารถทำได้ด้วยการติดตั้งถังกรองไร้อากาศ ระบบถังหมักตะกอน และบ่อแอนแอโรบิก
>> หวังว่าทุกคนก็ตะหนักถึงการปล่อยน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม เราจึงนำเสนอ 3 ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่เราคิดว่าทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ และอย่าลืมติดตาม FactoriPro กันด้วยนะครับ ครั้งหน้าเราจะนำเสนอความรู้ด้านใด ข่าวสารอะไร ฝากติดตามด้วยนะครับ <<
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO