10 อันตรายจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
Tags: ที่อับอากาศ
10 อันตรายจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
10 อันตรายจากการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ
1. ภาวะขาดออกซิเจน
2.อุบัติเหตุไฟไหม้ เช่น แก๊สระเบิด (Combustible Gas)
3. การสูดฝุ่นละออง 4. ดมแก๊สพิษ 5. อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ
6. ประสิทธิภาพการได้ยินที่ลดลง
7. การมองเห็นในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ
8. ภาวะเครียดหรือกดดันจากสภาพงาน ส่งผลการทำงานที่ผิดพลาด
9. การอพยพหรือหนีภัยออกจากพื้นที่ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
10. ผิวหนังอักเสบหรือไหม้จากสารพิษ
การทำงานในพื้นที่อับอากาศนั้น เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานอย่างมาก วันนี้ FactoriPro มานำเสนอ 10 อันตรายที่เกิดการจากปฏิบัติงานในที่อับอากาศ เพื่อให้ทุกคนได้ระมัดระวังและไม่ประมาท
1. ภาวะขาดออกซิเจน
สถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อม เพื่อจะทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ การตรวจสุขภาพอับอากาศทุกปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานนี้
2.อุบัติเหตุไฟไหม้ เช่น แก๊สระเบิด (Combustible Gas)
สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็น ท่อส่งแก๊ส หรือถังเก็บก๊าซ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ หรือ ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
3. การสูดฝุ่นละออง
ฝุ่นละอองเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องสวมหน้ากากป้องการสูดฝุ่นละออง และหลีกเลี่ยงการถอดหน้ากากในพื้นที่เสี่ยง
4. ดมแก๊สพิษ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ รวมถึงบางแห่งเกิดก๊าซจากการสะสมสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดก๊าซพิษได้ ดังนั้นต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง และ ตรวจสอบหน้ากากว่าต้องแนบสนิทกับใบหน้าทุกครั้งเมื่อต้องปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
5. อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากกว่าปกติ
สถานที่อับอากาศบางแห่งอยู่สูงหรือลึกกว่าพื้นดิน ทำให้อุณหภูมิผิดปกติ ดังนั้นสุขภาพที่แข็งแรง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการปรับสมดุลของร่างกาย และอย่าลืมตรวจสุขภาพอับกาศเป็นประจำทุกปี
6. ประสิทธิภาพการได้ยินที่ลดลง
แน่นอนเมื่อเราใส่ชุดป้องกันเพื่อความปลอดภัย ความชัดเจนของการได้ยินจะลดลง อีกทั้งในสถานที่อับอากาศส่วนใหญ่จะมีเสียงก้อง ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลงอย่างมาก ดังนั้นการตรวจการได้ยินในโปรแกรมตรวจสุขภาพอับอากาศเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง
7. การมองเห็นในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ
การทำงานในพื้นที่อับอากาศ บ่อยครั้งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทำให้มีความเสี่ยงในการทำงานที่ผิดพลาดหรือ กรณีฉุกเฉินการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนเป็นอุปสรรคต่อการหนีออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที
8. ภาวะเครียดหรือกดดันจากสภาพงาน ส่งผลการทำงานที่ผิดพลาด
สถาวะแวดล้อมในพื้นที่อับอากาศให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศควรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำงาน และลดทอนความเสี่ยงที่จะให้เกิดความเครียด เช่น วิธีการพูดหรือสื่อสารระหว่างกัน
9. การอพยพหรือหนีภัยออกจากพื้นที่ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
อุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การซ้อมการหนีภัยและการอพยพเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรละเลย ควรจะตั้งใจและตระหนักถึงความสำคัญ เพราะเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเวลา
10. ผิวหนังอักเสบหรือไหม้จากสารพิษ
เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศมีโอกาสสัมผัสสารพิษ หรือ แมลงหรือสัตว์พิษบางชนิด ดังนั้นการสวมชุดอับอากาศที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น
>>> จบกันไปแล้วสำหรับเนื้อหาที่เรานำเสนอวันนี้ และครั้งต่อไปเราจะนำเสนอเรื่องใด สามารถติดตามพวกเราได้หรือเยี่ยมชมและรับข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
Facebook : FACTORIPRO
Youtube : FACTORIPRO
Website : www.FactoriPro.com
เพิ่มเพื่อน - ติดต่อสอบถาม
Line : @FACTORIPRO
Line : @FACTORIPRO